ย่อประวัติศาสตร์ 75 ปีแห่งซูเปอร์ฮีโร่ผิวสี

ย่อประวัติศาสตร์ 75 ปีแห่งซูเปอร์ฮีโร่ผิวสี

Be first to like this.

This post is also available in: English Español Русский

เมื่อพูดถึงการ์ตูน คงไม่น่าแปลกใจที่ซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีไม่ได้รับการนำเสนอมากเท่ากับซูเปอร์ฮีโร่ผิวขาว แม้กระทั่งในปัจจุบันที่เราแทบจะไม่มีฮีโร่ผิวสีเลยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน แต่แน่นอนว่ามีหลายปีที่เราไม่ได้เห็นซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีแม้แต่คนเดียว

ทุกวันนี้เราได้เห็นซูเปอร์ฮีโร่ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และยังมีอีกหลายๆคนที่ปรากฎตัวบนจอภาพยนตร์อีกด้วย (แบล็ค แพนเธอร์ เบลด สตอร์ม และไซบอร์ก) เราลองมาดูเรื่องราวของฮีโร่เหล่านี้กัน

มาฟังเรื่องราวย้อนหลัง 75 ปีกับซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีกัน:

1947: ไลอ้อนแมน

การปรากฎตัวคร้งแรก (และครั้งสุดท้าย) ของ Lion Man คือในหนังสือการ์ตูน All-Negro Comics ฉบับที่หนึ่งจาก Orrin Cromwell Evans โดยหนังสือการ์ตูนเล่มนี้เป็นเล่มแรกที่ได้รับการเขียน ตีพิมพ์ และวาด โดยฝีมือของศิลปินชาวแอฟริกัน-อเมริกันทั้งหมด

All-Negro Comics ฉบับแรกมีหลายหมวดในเล่ม — ซึ่งเป็นเรื่องปกติของนิตยสารการ์ตูนในยุคนั้น — เช่นมีเรื่องราวนักสืบ การผจญภัยของเด็กหนุ่ม เรื่องตลก และแน่นอนว่ามีไลอ้อนแมนอยู่ในนั้นด้วย

ไลอ้อนแมนมีความโดดเด่นในตอนนั้นเพราะตัวละครเป็นผู้ชายที่มีการศึกษาและได้รับการส่งตัวจากสหประชาชาติเพื่อปกป้องแร่ยูเรเนียมที่ชายฝั่งแอฟริกา โดยเป้าหมายอย่างหนึ่งของตัวละครนี้คือการสร้างความภูมิใจของชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วยผ้าพันหัวและแขนของเขา

ด้วย All-Negro Comics ที่ตีพิมพ์เพียงครั้งเดียว จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมไลอ้อนแมนจึงหายไปจากหนังสือการ์ตูนที่เรารู้จัก แต่ด้วยหน้าที่ในการปกป้องแอฟริกากับแร่ธาตุหายาก ไลอ้อนแมนอาจจะเป็นแบล็ค แพนเธอร์ ยุคแรกก็เป็นได้

ปลายยุค 60: แบล็ค แพนเธอร์ และ เดอะฟอลคอน

ตัดมา 20 ปีหลังจากการปรากฎตัวครั้งแรกของไลอ้อนแมน ในปี 1966 ในนิตยสาร Fantastic Four ฉบับที่ 52 ค่าย Marvel แนะนำให้เรารู้จักกับแบล็ค แพนเธอร์ และตามมาด้วยเดอะฟอลคอนในปี 1969 ใน Captain America ฉบับที่ 117 ที่ร่วมมือกันอย่างเต็มที่ใน Captain America and the Falcon ตั้งแต่ฉบับที่ 134 ถึง 222

ยุค 70: ช้าๆแต่มั่นคง

กรีน แลนเทิร์น กับ John Stewart

ในเดือนธันวาคม 1971 ค่ายการ์ตูน DC Comics นำเสนอซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีคนแรกแทนที่กรีน แลนเทิร์น อย่าง John Stewart (ฉบับที่ 87 ของ Green Lantern) และมี Luke Cage หรือ Power Man จากค่าย Marvel ในปี 1972 ใน Hero for Hire ฉบับแรก

และ Marvel ก็ได้ส่งเบลดหรือ “เดอะเดย์วอล์คเกอร์” ใน Tomb of Dracula ฉบับที่ 10 และ ด็อกเตอร์ วูดู — ซึ่งในตอนนั้นชื่อว่า บราเธอร์ วูดู — ใน Strange Tales ฉบับที่ 169 ซึ่งทั้งคู่ปรากฎตัวในปี 1973

สตอร์ม

ในปี 1975 เราได้พบกับซูเปอร์ฮีโร่ตัวหลักกับสตอร์มใน Giant Sized X-Men ฉบับที่ 1 และมิสตี ไนท์ กับแขนกลของเธอใน Marvel Premier ฉบับที่ 20

ปี 1976 DC นำเสนอซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีตัวแรกอย่างไทร็อคที่ปรากฎตัวสั้นๆใน Legion of Superheroes ใน Superboy and the Legion of Superheroes ฉบับที่ 216 และ DC ก็ได้ส่งแบล็ค ไลท์นิ่งตามมาใน Black Lightning ฉบับที่ 1 ปี 1977

ยุค 80: เดินมาถูกทาง

ไซบอร์ก

จนกระทั่งยุค 1980 ซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป

ไซบอร์ก จากค่าย DC ปรากฎตัวครั้งแรกในฐานะสมาชิกทีมที่แฟนการ์ตูนชอบที่สุดและในหนังสือการ์ตูน The Teen Titans (ทีมนี้ปรากฎตัวครั้งแรกใน DC Comics Presents ฉบับที่ 26 ในปี 1980) วิกเซ็นปรากฎตัวครั้งแรกใน Action Comics ฉบับที่ 152 ในปี 1981 และในปี 1982 Marvel นำเสนอตัวละคร Monica Rambeau ใน Amazing Spider-Man Annual ฉบับที่ 16 ในบทบาทกัปตันมาร์เวล หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็นพัลซาร์ โฟทอน และสเป็คตรัม (เอาสักชื่อเถอะนะ) และยังมีคู่รักสองเชื้อชาติอย่างโคล์กและแดกเกอร์ ซึ่งโคล์กปรากฎตัวครั้งแรกใน Peter Parker, The Amazing Spider-Man ฉบับที่ 64

James Rhodes ในบทวอร์ แมชชีน

และเราก็ได้มาพบกับเพื่อนและนักบินส่วนตัวของ Tony Stark อย่าง James “Rhodey” Rhodes ที่รับบทเป็นไอรอนแมน หลังจากที่ Tony ติดแอลกอฮอลใน Iron Man ฉบับที่ 169

ตลอดช่วงยุค 90 จนกระทั่งตอนนี้ การมีตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีเป็นตัวนำของเรื่องและประสบความสำเร็จกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นได้จากความล้มเหลวหลายๆครั้งของตัวละครในอดีต และความพยายามของศิลปินทุกๆคน 

ซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีคนไหนที่คุณชอบเป็นพิเศษ บอกเราได้ที่คอมเมนท์ด้านล่าง

ภาพจาก Brian Stelfreeze, Black Panther (2016) #1, Marvel Comics

Quantcast