คุณรู้รึเปล่าว่าใบหน้าตอนถึงจุดสุดยอดมีสำเนียงที่ไม่เหมือนกันทั่วโลก
This post is also available in: English Русский Українська
นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Glasgow ที่ประเทศสก๊อตแลนด์ได้ทำการวิจัยที่ค้นพบว่าใบหน้าตอนออกัสซั่มมี”สำเนียง”ที่แตกต่างกันไปทั่วโลก — เช่นใบหน้าออกัสซั่มในแถบเอเชียตะวันออกที่มีความแตกต่างจากฝั่งจะตะวันตกของโลก
ไอเดียงานวิจัยนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้เข้าทดสอบถูกขอให้ชี้ภาพใบหน้า “ตอนถึงจุดสุดยอด”ของตัวเอง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีการเลือกที่แตกต่างกันไป
ความตั้งใจแรกของงานวิจัยนั้นคือการตรวจสอบความเชื่อแปลกๆที่ว่าใบหน้า”ตอนรู้สึกเจ็บปวด”และ”ตอนถึงจุดสุดยอด”คือใบหน้าเดียวกัน โดยนักวิจัยค้นพบว่านั่นไม่เป็นความจริง และพวกเขายังเกิดไอเดียที่ว่าใบหน้าตอนถึงจุดสุดยอดนั้นมีความแตกต่างกันไปทั่วโลก
ในรายงานวิจัยเขียนว่า “การแสดงออกถึงความเจ็บปวดและการออกัสซั่มมีความแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม” และ “ใบหน้าที่แสดงความเจ็บปวดนั้นมีความคล้ายคลึงกันในทุกวัฒนธรรม แต่ใบหน้าขณะออกัสซั่มมีความแตกต่างกัน”
ปรากฎว่าวัฒนธรรมของแต่ละคนมีผลต่อใบหน้าระหว่างการออกัสซั่มของคนๆนั้น
ประชากรจำนวน 40 คนจากฝั่งตะวันตกและเอเชียตะวันออกได้ร่วมงานวิจัยชิ้นนี้ โดยพวกเขาจะต้องทำการเลือกภาพใบหน้าจำนวนมากและเลือกว่าแต่ละภาพนั้นเป็นใบหน้า “ออกัสซั่ม” หรือใบหน้า “ความเจ็บปวด” และยังต้องเรียงลำดับความรุนแรงของแต่ละภาพด้วย
งานวิจัยเขียนรายงานเรื่องใบหน้าระหว่างการออกัสซั่มนั้นมีความแตกต่างกันว่า:
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมตอบสนองกับทฤษฏีอุดมคติที่เสนอว่าชาวตะวันตกให้คุณค่ากับการเร้าอารมณ์ที่รุนแรงเช่นความตื่นเต้นและความกระตือรือร้น ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับดวงตาและปากที่เปิดกว้าง ขณะที่กลุ่มประชากรทางเอเชียตะวันออกให้ความสำคัญกับความตื่นเต้นน้อยกว่า ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการยิ้มแบบปิดปาก
มีการเคลื่อนไหวบางอย่างที่มีความคล้ายคลึงกันในทุกๆวัฒนธรรม ซึ่งคือการยกคิ้วและการปิดตา แต่ในกลุ่มชาวตะวันตกจะมีโอกาสพบเปลือกตาบนที่ขยับขึ้นและการอ้าปากมากกว่า ขณะที่ในรายงาบพบการขยับมุมปากขึ้นด้านบนมากกว่าในกลุ่มเอเชียตะวันออก
คุณมีความเห็นยังไงบ้างเกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องใบหน้าออกัสซั่มชิ้นนี้
บทความนี้เขียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2021 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม