จะเกย์หรือไม่เกย์ ลองมาดูคอร์สสั้นๆเกี่ยวกับเรื่องตัวตนทางเพศ
This post is also available in: English
เราอยู่ในช่วงเวลาที่อัตลักษณ์ทางเพศเป็นเรื่องไร้ขีดจำกัดและขึ้นอยู่กับจินตนาการและตัวตนที่แท้จริงของคุณ ความแตกต่างทางกายกำลังได้รับการยอมรับและการแสดงออกผ่านตัวตนที่แท้จริงของคุณสามารถทำได้อย่างมั่นใจ
ผมหัวเราะทุกครั้งเมื่อได้ยินใครพูดถึงคำว่า “เพศตรงข้าม” เพราะมันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดหมวดหมู่ให้กับสิ่งที่นิยามได้หลายวิธีมาก คำอย่างคำว่า“ผู้ชาย”และ“ผู้หญิง” หรือคำว่า“รักร่วมเพศ”และ“รักต่างเพศ” ก็ไม่สามารถอธิบายความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทางเพศได้ อย่างน้อยในตอนนี้เราได้รู้ว่ามันมีมากกว่าห้ากลุ่ม และมีวิธีการแสดงออกทางเพศอีกเป็นร้อยรูปแบบ
คนๆหนึ่งสามารถมีโครโมโซม X สองโครโมโซมพร้อมกับรังไข่และมดลูกภายในร่างกาย แต่กลับมีอวัยวะเพศชายอยู่ด้านนอก บางคนมีลักษณะความต้องการทางเพศที่เลื่อนไหล เป็นไบเซ็กชวล เป็นรักต่างเพศ เป็นคนไร้ความต้องการทางเพศ เป็นคนมีรสนิยมที่แตกต่าง และยังมีทั้งเรื่องของเพศที่เปลี่ยนแปลงได้ การไร้เพศ และการเป็นเพศทางเลือก
ทั้งหมดที่เราพูดถึงยังไม่ใช่รายชื่อที่สมบูรณ์ด้วยซ้ำ และทุกสิ่งในนั้นล้วนเป็นสิ่งสวยงาม ธรรมชาติยังสะท้อนความหลากหลายให้เราได้เห็นในหลายๆอย่าง และยังเป็นเหตุให้เกิดการเจริญเติบโตอีกเช่นกัน คงมีเพียงแค่มนุษย์เท่านั้นที่ยังคงมีปัญหาในการยอมรับเรื่องนี้
จากความหลากหลายที่เกิดขึ้นก็ย่อมมีความสับสนตามมา โดยเฉพาะในเรื่องสรรพนามที่เราจะใช้เรียกใครสักคนหรือเราจะเรียกคนเหล่านั้นว่าเป็นเพศอะไรดี แต่หากคุณสามารถจำชื่อเพื่อนๆของคุณ ชื่อนักกีฬาในทีมโปรดของคุณ และเนื้อเพลงของบียอนเซ่ได้ทุกเพลง คำถามเกี่ยวกับเพศและสรรพนามต่างๆคงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคุณ
มันคือการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจและความเคารพซึ่งกันและกัน
ฉะนั้นอย่าเผลอตัวติดกับดักแห่งรักร่วมเพศและรักต่างเพศที่เป็นแค่แรงกดดันทางสังคมที่จะตีตราเพศในทางหนึ่ง มันเป็นกับดักที่ทำให้กลุ่มคนที่แตกต่างและมีความคิดสร้างสรรค์ติดสินใจที่จะ”เป็นเหมือนคนอื่นๆ” หรือเหตุกาณ์ที่มีเพียงคนที่ทำตามบรรทัดฐานทางสังคมเท่านั้นที่อยู่รอด
นอกจากนั้นก็อย่าลืมระวังการนิยามตัวตนทางเพศในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของใครสักคนเพียงเพราะการกระทำที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะนิยามสิ่งที่ตัวเองเป็นได้ใหม่เสมอ
และนี่คือ 5 สิ่งที่ต้องไม่ลืมเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ:
1. คุณไม่จำเป็นต้องเลือก
หากคุณสบายใจที่จะนิยามตัวเองด้วยเพศหรือความต้องการแบบใดแบบหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร แต่มันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณ และไม่ใช่เรื่องของคนอื่นสักนิดเดียว ลองใช้นิยามที่กว้างๆอย่าง”เพศทางเลือก” หรือลองค้นหาตัวตนและความต้องการทางเพศในหลายๆแบบ ผมสนับสนุนเต็มที่
2. คุณสามารถสร้างคำนิยามให้กับตัวเองได้
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอัตลักษณ์ทางเพศตรงตามลักษณะทางกายของตัวเอง หลายๆเรื่องในชีวิตเป็นมากกว่าแค่ตัวตนทางเพศ และนอกจากนั้นยังไม่มีบรรทัดฐานทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ“เพศชาย/เพศหญิง” ที่ชัดเจน เพศของเราไม่ใช่สิ่งที่จะต้องเลือกว่าเป็น”อย่างใดก็อย่างหนึ่ง” บางครั้งคุณสามารถเป็นได้ทั้งสองอย่างหรือไม่เป็นเลยก็ได้ และมันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ
3. คุณเปลี่ยนใจได้
“ฉันเกิดมาเป็นแบบนี้”อาจจะเป็นจริงสำหรับใครหลายๆคน แต่ก็ไม่จริงสำหรับคนอื่นๆ ความต้องการและอัตลักษณ์ทางเพศเป็นสิ่งที่เกิดจากการสังเคราะห์จากหลายแหล่งที่ซับซ้อน บางคนบอกว่าตัวเองไม่ใช่อะไรก็ตามทั้งหมดที่เขาเคยได้ยินมา บางคนเป็นทั้งหมด หรือบางครั้ง”การถามตัวเองทุกเช้า”ก็เป็นทางเลือกที่ดี และที่สำคัญที่สุดก็คือมันไม่ใช่เรื่องสำคัญขนาดนั้นหรอก!
การเลือกอัตลักษณ์ของตัวเองไม่ใช่เรื่องถาวร คุณยังสามารถค้นหาตัวตนของคุณได้อย่างไม่จบสิ้น คุณสามารถเป็นคนรักข้ามเพศที่ลองมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกันได้ อย่างเช่นว่าคุณเป็น“เพศหญิง” แต่ก็ยังสามารถแสดงตัวเป็นเพศทางเลือกหรืออยากทำนิสัยเหมือนผู้ชายก็ได้
4. หาชุมชนของตัวเอง
ชนกลุ่มน้อยทางเพศมักจะต้องการการสร้างชุมชนของตัวเองเหมือนกับชนกลุ่มน้อยอื่นๆเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณค่าของตัวเองในสังคม การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองโดยเฉพาะในคนกลุ่มน้อยผ่านการมีชุมชนที่เข้าใจคุณค่าและตัวตนของคุณได้เป็นเรื่องสำคัญ ลองหากลุ่มในพื้นที่หรือชุมชนออนไลน์ที่สนับสนุนสิ่งที่คุณเป็นและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับพวกเขา
5. คุณมีสิทธิ์และสมควรได้รับความเคารพ
การเป็นเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทั่วไปในสังคมที่คลั่งไคล้การเดินไปในทิศทางเดียวกันถือเป็นสัญญาณของสุขภาพที่ดี ปัญหาที่ตามมาจากการเป็นเพศทางเลือกไม่ได้หมายความว่ามีอะไรที่ผิดปกติในสิ่งที่คุณเป็น แต่มันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นในโลกนี้ที่มองว่าความแตกต่างเป็นเรื่องผิดปกติ
คุณล่ะอยากให้คนอื่นรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศในเรื่องไหนบ้าง?
Dr. Chris Donaghue คือวิทยากร นักบำบัด และผู้ดำเนินรายการวิทยุ LoveLine รายการรายสัปดาห์จาก The Amber Rose Show และผู้ร่วมดำเนินรายการทีวี The Doctors เขาเคยเป็นผู้ดำเนินรายการทางช่อง WE tv ชื่อ Sex Box และ Logo’s Bad Sex เขายังเป็นผู้เขียนหนังสือ Sex Outside the Lines: Authentic Sexuality in a Sexually Dysfunctional Culture และยังมีงานเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์บนนิตยสารชั้นนำอย่าง The New York Times และ Newsweek รวมไปถึง Cosmo และ National Geographic ติดตามเขาได้บน Twitter และ Instagram