ช่วยตัวเองยังไงให้ห่างไกลมะเร็งต่อมลูกหมาก

ช่วยตัวเองยังไงให้ห่างไกลมะเร็งต่อมลูกหมาก

Be first to like this.

This post is also available in: English Português Русский

ทุกๆคนรู้ดีว่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในกาแล็กซี่นี่ — ซึ่งในมหาลัยเต็มไปด้วยอัจฉริยะที่มีวิทยาศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจ จะกินข้าว จะทำงาน หรือจะทำอะไรก็คิดแต่เรื่องวิทยาศาสตร์วันละ 27 ชั่วโมง ฉะนั้นเมื่อพวกเขาบอกว่าการช่วยตัวเองเดือนละ 21 ครั้งสามารถช่วยเลี่ยงการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เราก็ควรจะตั้งใจฟัง

งานวิจัยที่ทำการศึกษาเพศชายจำนวน 31,925 คนบนนิตยสาร European Urology พบว่าผู้ชายสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง 33% จากการสำเร็จความใคร่ 21 ครั้งต่อเดือน

ตัวเลขที่เห็นอาจจะค่อนข้างเจาะจง แต่นักวิจัยได้ทำการศึกษาผลการตรวจสอบมะเร็งต่อมลูกหมากและการตรวจชิ้นเนื้อ และพบความเชื่อมโยงระหว่างผู้ชายที่สำเร็จความใครบ่อยๆและกลุ่มคนที่มีแอนติเจน (PSA) น้อยกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นสารของร่างกายที่แสดงถึงอัตราความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากนั่นเอง

เมื่อนักวิจัยทำการเฉลี่ยจำนวนครั้งของผู้ชายที่มีค่า PSA ต่ำที่สุด พวกเขาพบว่าชายเหล่านั้นเฉลี่ยแล้วทำการช่วยตัวเองจนถึงจุดสุดยอด 21 ครั้งต่อเดือน

แต่ก่อนที่คุณจะเชื่อว่าแค่เจลหล่อลื่นกับเว็บโป๊จะปกป้องคุณจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้ อย่าลืมด้วยว่าน้ำหนักตัวที่มาก กิจกรรมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และอาหารที่ทาน ล้วนเป็นตัวแปรที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเช่นกัน ซึ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ รวมถึงเนื้อปลา ผลไม้ และผัก สามารถช่วยเลี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากกว่าการช่วยตัวเอง และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในเพศชาย (ผู้ชายหนึ่งในแปดคนจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต) และยังเป็นมะเร็งที่อันตรายที่สุดเป็นอันดับสองของในเพศชายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ศูนย์มะเร็งต่อมลูกหมากกล่าวว่าการตรวจพบในระยะเริ่มต้นเป็นสิ่งที่มีส่วนช่วยในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างดี “เกือบ 100% ของผู้ชายที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นมักจะปลอดจากโรคในระยะเวลา 5 ปี”

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยตัวเองให้ได้เดือนละ 21 ครั้ง เพราะนักวิทยาศาสตร์จากฮาร์วาร์ดเค้าบอกมา!

คุณช่วยตัวเองเพื่อเลี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากกันแล้วหรือยัง?

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2018

Quantcast