ทริกออร์ทรีต และประเพณีอื่นๆ: ประวัติวันฮาโลวีนที่ไม่ได้ขนลุกอย่างที่คิด

ทริกออร์ทรีต และประเพณีอื่นๆ: ประวัติวันฮาโลวีนที่ไม่ได้ขนลุกอย่างที่คิด

Be first to like this.

This post is also available in: English Русский

วันฮาโลวีนกำลังใกล้เข้ามา ถึงเวลาที่ทุกๆคนจะออกไปเดินขบวนในชุดภูติผีชวนขนลุก (หรือเซ็กซี่) นั่งกินลูกอมอยู่ที่บ้าน แกะสลักฟักทอง ออกไปเล่นทริกออร์ทรีต และเล่าเรื่องผีให้เด็กๆฟัง แต่ประเพณีต่างๆในวันฮาโลวีนนั้นมีที่มานานหลายยุคสมัย ฉะนั้นเราลองมาใช้โอกาสนี้ทำความรู้จักที่มาของวันนี้ให้ดีขึ้นกันดีกว่า

คุณรู้ไหมว่าทำไมต้องเป็นวันที่ 31 ตุลาคม หรือทำไมค้างคาวและผีถึงมีความเกี่ยวข้องกับวันนี้ ก่อนที่เราจะออกไปปาร์ตี้กันสิ้นเดือนนี้ ลองมาทำความรู้จักวันนี้กันให้มากขึ้นและเรารับรองเลยว่าคุณจะสนุกกับปาร์ตี้ได้อย่างเต็มที่

มาทำความรู้จักประวัติวันฮาโลวีน วันเทศกาลโปรดของเราหลายๆคน:

วันฮาโลวีนนั้นมีประวัติยาวนานตั้งแต่ช่วงปฏิทินชาวเคลท์ ซึ่งมีการแบ่งปีออกเป็นครึ่งมืดและครึ่งสว่าง วันหยุดวันหนึ่งชื่อ Samhain (ออกเสียงว่าโซวอิน) เป็นวันแห่งการเริ่มต้นช่วงมืดของปี โดยเป็นวันเก็บเกี่ยวในวันที่ 31 ตุลาคมเพื่อก้าวเข้าสู่ปีใหม่

วัน Samhain ของชาวเคลท์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความน่ากลัว แต่ไม่เหมือนกับฮาโลวีนในทุกวันนี้ เพราะในช่วงนั้นเวลากลางคืนจะยาวนานขึ้น อากาศที่หนาวเย็นลง และในช่วงเวลาที่การเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งสำคัญ — ที่ทุกคนต้องมีอาหารเพื่ออยู่รอด — ผลการเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะถ้าการเก็บเกี่ยวไม่ได้เป็นไปตามที่ต้องการก็จะมีคนเสียชีวิตจากการขาดอาหาร ซึ่งเป็นที่มาของการเชื่อมโยงวันฮาโลวีนเข้ากับความตายและสิ่งที่ชวนให้ขนลุกจนถึงทุกวันนี้

กลายมาเป็นวันฮาโลวีนในทุกวันนี้

คุณอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวที่บอกว่าวันฮาโลวีนเป็นเหมือนผ้าบางๆที่คั่นระหว่างโลกแห่งความเป็นและความตาย ซึ่งความคิดนี้ก็มาจากเผ่าเคลท์ในอดีตที่มาจากความเชื่อด้านมืดและด้านสว่างของปี เป็นวันที่คนเป็นและคนตายจะคละกัน และนี่ก็คือหนึ่งในที่มาของหลายๆประเพณีในวันนี้

แม้กระทั่งการใช้ค้างคาวในวันฮาโลวีนก็เกิดขึ้นในช่วงนั้นเช่นกัน กองไฟที่พวกเขาสุมขึ้นจะช่วยให้พวกเขามองเห็นสัตว์หลายๆอย่างที่พวกเขามักจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า — เช่นค้างคาว โดยในช่วงนั้นพวกเขายังไม่มีไฟฟ้าใช้ นอกจากนั้นแมลงยังชอบบินเข้าหากองไฟ ซึ่งพวกมันก็เป็นอาหารหลักของค้างคาวด้วย

แม้ว่าหลายๆคนจะเห็นว่าวันฮาโลวีนนั้นเป็นวันของคนที่ไม่ได้นับถือศาสนา แต่การที่เรายังมีวันฮาโลวีนมาจนถึงทุกวันนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะชาวคริสต์ โดยในช่วงแรกที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พวกเขาตัดสินใจเก็บรักษาประเพณีเหล่านั้นแทนที่จะทำลายทิ้งไป ส่วนหนึ่งก็เพราะการรักษาประเพณีเหล่านั้นทำให้การเปลี่ยนความเชื่อเป็นเรื่องง่ายขึ้น และนั่นเป็นเป้าหมายสูงสุดของศาสนาคริสต์

แล้วชื่อ “ฮาโลวีน” มาจากไหน

เพื่อจะเข้าใจการปรับใช้ความนอกศาสนาให้เกิดเป็นวันฮาโลวีนของชาวคริสต์ คุณต้องรู้จักวันพิเศษของคนนอกศาสนาอีกวันหนึ่งชื่อ Lemuria ซึ่งเป็นวันที่ 13 พฤษภาคม เป็นวันที่เชื่อว่าคนตายจะกลับมาเข้าร่างคนเป็น และคนเป็นจะต้องทำให้วิญญาณเหล่านั้นสงบลงด้วยของหวาน แต่เมื่อศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทในวัน Lemuria ในปี 609 วันนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “วันสมโภชนักบุญ” ซึ่งพวกเขาตัดสินใจใช้วันนี้เฉลิมฉลองความศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสเตียนที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ยังคงรักษาประเพณีของคนนอกศาสนาไว้บางส่วน

สุดท้ายแล้ววันสมโภชนักบุญ (หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า All Hallows Day) ถูกย้ายไปเป็นวันที่ 1 พฤษจิกายน โดยสาเหตุหลักก็คืการพยายามบดบังความสำคัญของประเพณี Samhain ของกลุ่มนอกศาสนา และไม่นานหลังจากนั้น วัน All Hallows Day — ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “All Hallows Eve” และถูกปรับให้สั้นลงเป็น “Halloween” ในท้ายที่สุด

ศาสนาคริสต์ยังได้สร้างวันพิเศษขึ้นอีกวัน — ซึ่งก็คือวัน All Souls Day โดยจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤษจิกายน และทั้งสามวันนี้ก็ได้กลายมาเป็นวันที่มีความเกี่ยวข้องกับความตายและสิ่งชวนขนลุกทั้งหลาย

ที่มาของการเล่นทริกออร์ทรีต

All Souls Day (2 พฤษจิกายน) เป็นวันที่ชาวคริสต์จะภาวนาให้กับ “ดวงวิญญาณที่หลงทาง” โดยมีความเชื่อว่าหากดวงวิญญาณหนึ่งได้รับการภาวนามากพอ พวกเขาก็จะสามารถขึ้นสวรรค์ได้ เพื่อเป็นการทำให้วิญญาณเหล่านั้นได้รับการภาวนามากขึ้น พวกเขาได้คิดวิธีหนึ่งที่เรียกว่า “การเก็บวิญญาณ” โดยเด็กๆจะเป็นผู้ทำ และยังเป็นที่มาของหลายๆอย่างในวันฮาโลวีนด้วย

“การเก็บวิญญาณ” จะเป็นการให้เด็กๆไปเคาะประตูบ้าน และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับ”เค้กวิญญาณ” (เค้กลูกเกด) เด็กๆจะทำการภาวนาให้กับวิญญาณของคนที่เสียชีวิตในบ้านหลังนั้นเพื่อส่งให้พวกเขาไปยังสวรรค์ และนี่ทำให้เกิดการเล่นที่เรียกว่า “ทริกออร์ทรีต” (จนถึงปัจจุบันมีอายุไม่ถึง 100 ปีด้วยซ้ำ)

แต่การ “ทริก” ในทริกออร์ทรีตนั้นเกิดขึ้นหลังจากนั้นนานพอสมควร ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้อพยพชาวอเมริกันเริ่มนำเสนอประเพณีซนๆเข้าสู่วันฮาโลวีน และนั่นได้กลายมาเป็นประเพณีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กๆสวมหน้ากาก (เพื่อปิดบังตัวเองพร้อมกับถือก้อนหินและไข่ไปด้วย) และออกไปสนุกในเมืองของตัวเองในค่ำคืนสุดพิเศษ

ในช่วงยุค 1920 การเล่น “ทริก” ได้กลายเป็นอาชญากรรมและการทำลายทรัพย์สินอย่างกว้างขวาง โดยส่งผลได้เกิดความเสียหายและการเสียชีวิต เด็กๆจะปาหินใส่รถที่วิ่งไปมา ก่อกองไฟ และปาของใส่กระจกบ้าน — โดยในหลายๆที่ในสหรัฐอเมริกา วันฮาโลวีนได้กลายเป็นวันที่รู้จักกันในชื่อ “คืนแห่งนรก”

วันฮาโลวีนในปี 1933 ได้รับชื่อ “Black Halloween” บนหน้าหนังสือพิมพ์เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นในคืนเดียว และหลายๆรัฐได้ทำการแก้ปัญหาโดยการจัดงานปาร์ตี้ งานเต้นรำ การสวมเครื่องแต่งกาย และการประกวดต่างๆ และสุดท้ายวันฮาโลวีนก็ได้กลายมาเป็นงานสังสรรค์อย่างทุกวันนี้

ส่วนการ “ทรีต” นั้นเป็นการเชิญชวนให้เด็กๆไม่อยากทำลายข้าวของของคนอื่น (“อ่ะนี่ลูกอม อย่าปาของใส่บ้านป้าเลยนะ”) และแน่นอนว่าวันฮาโลวีนก็ได้กลายมาเป็นวันโปรดของบริษัทผลิตลูกอมและขนมต่างๆไปโดยปริยาย

แม่มดกับวันฮาโลวีน

คงจะไม่เกินไปถ้าจะบอกว่าคนในยุคกลางนั้นมีความเชื่อว่าเหล่าภูติผีและปีศาจร้ายคือสิ่งที่ทำให้เกิดเรื่องแย่ๆในโลกนี้ทั้งหมด นอกจากนั้นพวกเขายังเชื่อว่าปีศาจร้ายบางอย่างอยู่ในรูปของมนุษย์ และการฆ่าพวกมันจะทำให้เรื่องร้ายๆลดลง

แต่เป็นช่วงการ”ล่าแม่มด”ในศตวรรษที่ 16 ที่ทำให้เราเห็นภาพแม่มดในงานวันฮาโลวีนในปัจจุบัน ในยุคนั้น ผู้คนที่มีความสงสัยมักจะจับจ้องไปที่ผู้รักษา (คล้ายๆหมอ) โดยมักจะเป็นผู้หญิงที่อาศัยอยู่คนเดียวและมักจะหาบเร่ขายของ มักจะใช้ไม้กวาดและหม้อต้ม ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในกลุ่มผู้หญิงยุคกลาง

ไม่นานนักความเป็นแม่มดก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวันฮาโลวีนและกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย แม้กระทั่งแม่มดในทุกวันนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับไม้กวาด หม้อต้มเดือด และหมวกสีดำแหลมๆ

ในช่วงแรกนั้น ภาพลักษณ์ของแม่มดคือผู้หญิงชราจมูกโตที่มีตุ่มตามตัว แต่เป็นช่วงต้นยุค 1900 — จากการโปรโมทวันฮาโลวีน — ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของเธอกลายมาเป็นผู้หญิงสวยๆน่าดึงดูดแบบที่เราเห็น

ประเพณีเล่าเรื่องผีในวันฮาโลวีน

แม้ว่าเรื่องผีๆจะไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากสงครามเย็น แต่เป็นช่วงนั้นที่ทำให้การเล่าเรื่องสยองขวัญได้รับความนิยมมากขึ้น สงครามเย็นที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1861 จนถึง 1865 เป็นสงครามที่มีทหารเสียชีวิตจำนวนมาก (กว่าครึ่งล้านคน) และบ่อยครั้งที่สภาพร่างกายของพวกเขาไม่สามารถใช้ชี้ตัวผู้เสียชีวิตได้

หลายๆครอบครัวไม่สามารถรู้ได้จริงๆว่าคนรักของพวกเขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ — และนั่นเป็นที่มาของเรื่องผีในแบบที่คนรักกลับมาบ้านในท้ายที่สุด และนั่นเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมมากๆ

หลังจากสงครามเย็น ผู้อพยพชาวสก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา และพวกเขาก็ได้นำพาประเพณีต่างๆเกี่ยวกับฮาโลวีนที่หลายๆคนรู้จัก  — อย่างเช่นความเชื่อว่าผีร้ายๆจะมาก่อกวนเด็กๆในวันฮาโลวีน โดยพวกเขาเรียกผีนี้ว่า “บูกี้แมน”

หรือผีผ้าขาวที่เราเห็นก็มาจากการใช้ผ้าสีขาวคลุมผู้เสียชีวิตในระหว่างการฝังนั่นเอง

แล้วโคมไฟฟักทองล่ะ

การแกะสลักใบหน้าฟักทองมีต้นกำเนิดมาจากทวีปยุโรปและเดินทางมาจนถึงอเมริกา โดย Jack O’Lantern คือคนที่มีชีวิตจริง และเรื่องเล่าบอกว่าเขานั้นเป็นคนเลว — ถึงขั้นที่เขาถูกไล่ออกมาจากนรก และซาตานได้หยิบถ่านร้อนใส่มือของเขา และแจ็คได้นำถ่ายนั้นไปใส่ในกระดองเต่า (ไม่ใช่ฟังทองนะ) และวิญญาณของเขาก็ร่อนเร่ไปเรื่อยๆกับภาพลักษณ์ที่คล้ายกับ Jack-O-Lantern ที่เราคุ้นตา

ในเมืองเก่าๆในยุโรป เด็กๆจะทำการแกะสลักหน้าตาบนหัวผักกาดและจุดเทียนไขใส่ไว้ภายใน เมื่อประเพณีนี้มาถึงสหรัฐอเมริกาไม่นาน เด็กๆชาวสหรัฐก็เริ่มใช้ฟังทองลูกโตๆแทนที่จะใช้ผักกาดลูกเล็กๆ

แจ็กโอแลนเทิร์นกลายมาเป็นอุปกรณ์ในการแกล้งคนของเด็กๆในวันฮาโลวีน และไม่นานนักวันฮาโลวีนก็ได้มีสัญลักษ์เป็นของตัวเอง ทุกวันนี้ฟักทองแกะสลักน่าจะเป็นสิ่งที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุดเกี่ยวกับวันนี้ และความน่ากลัวของมันก็ได้หายไปตามกาลเวลา

คุณล่ะเคยรู้ที่มาของวันฮาโลวีนมาก่อนหรือเปล่า

Quantcast