ร่วมคุยเรื่องชาว LGBTIQ ในวันสุขภาพจิตโลก

ร่วมคุยเรื่องชาว LGBTIQ ในวันสุขภาพจิตโลก

Be first to like this.

This post is also available in: English Español Русский Українська

ผู้เขียนบทความเกี่ยวกับวันสุขภาพจิตโลก Paul Jansen เป็นที่ปรึกษาอาวุโสเพื่อการสนับสนุนระดับโลกของอค์กร OutRight Action International

วันที่ 10 ตุลาคมคือวันสุขภาพจิตโลก ซึ่งถือเป็นวันที่สำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับชุมชนของเรา เพราะไม่ว่าการยอมรับเพศทางเลือกและสิทธิของ LGBTIQ จะก้าวหน้าไปแค่ไหน ในปัจจุบันเรายังคงเป็นประชาชนกลุ่มน้อยที่ยังคงต้องเผชิญกับการถูกแบ่งแยก ความเกลียดชัง ความรุนแรง และการถูกตัดขาดจากครอบครัว

ซึ่งทำให้เราไม่แปลกใจว่าทำไมเพศทางเลือกจึงมีอาการซึมเศร้า กังวล และมีความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเฉลี่ยประชากรทั่วไป 

นอกจากนั้นทัศนคติที่แบ่งแยกยังเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้การเข้าถึงการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตยังคงเป็นเรื่องยาก และยังมีอีกมากที่มองว่าเพศทางเลือกเป็นอาการผิดปกติทางจิต — แม้ว่าการรักร่วมเพศจะถูกถอดออกจากรายชื่ออาการผิดปกติตั้งแต่ปี 1990 และการเป็นคนข้ามเพศได้ถูกถอดออกจากรายชื่อเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว — และนั่นยังทำให้เราต้องเผชิญกับ “การบำบัดเพศสภาพ” ที่นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้วยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเพศทางเลือกอีกด้วย

ถ้าพูดง่ายๆก็คือ การพูดคุยกันเรื่องชาว LGBTIQ ในวันสุขภาพจิตโลกเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง

งานวิจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตของ LGBTIQ มักจะเกิดขึ้นในประเทศที่มีกฎหมายและมาตรการต่างๆที่ช่วยปกป้องเพศทางเลือกและสังคมโดยรวมมีทัศนคติที่เป็นบวกต่อเพศทางเลือก แต่อย่างไรก็ตาม ผลของงานวิจัยก็ยังคงเป็นที่น่ากังวล เช่นในสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลของ National Alliance on Mental Illness พบว่าผู้ใหญ่ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และคนรักสองเพศมีโอกาสที่จะเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพจิตมากเป็นสองเท่าของคนทั่วไป นอกจากนั้นนักเรียนระดับมัธยมปลายที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ และคนรักสองเพศมีโอกาสที่จะพยายามฆ่าตัวตายสูงถึงห้าเท่า และคนข้ามเพศที่ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งเคยมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ในสหราชอาณาจักร ตัวเลขที่พบมีความคล้ายคลึงกัน องค์กรภาคประชาสังคมชื่อ Stonewall รายงานว่า 52% ของเลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวล รวมถึง 67% ของคนข้ามเพศ​และ 70% ของคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศนอกเหนือจากเพศชายและหญิงมีอาการซึมเศร้าในปี 2019 และ 61% ของชาวเพศทางเลือกทั้งหมดมีอาการหวาดระแวง และ 52% ของเพศทาเงลือกอายุตั้งแต่ 18 ถึง 24 ปีเคยมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายในปีที่ผ่านมา

ผมรู้สึกกลัวเมื่อต้องจินตนาการว่าในอีก 67 ประเทศที่มีการลงโทษความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันด้วยกฎหมาย หรือประเทศที่มีการลงโทษ LGBTIQ อย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ในประเทศเหล่านั้นจะเป็นยังไงบ้าง

แม้แต่ในประเทศที่เป็นมิตรต่อเพศทางเลือก การช่วยเหลือสนับสนุนยังคงไม่ทั่วถึง และบ่อยครั้งเรายังพบทัศนคติที่แบ่งแยกรวมถึงการไม่ให้บริการด้านสุขภาพ เช่นที่ประเทศไนจีเรียที่ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และการ“ช่วยเหลือสนับสนุน”ชาว LGBTIQ ก็เป็นเรื่องผิดกฎหมายเช่นกัน ที่ประเทศรัสเซีย การพูดถึงประเด็นเพศทางเลือกเป็นสิ่งต้องห้าม หรือที่อินโดนีเซียที่การ “บำบัดแก้เพศสภาพ”เป็นสิ่งที่ถูกบังคับให้กับชาว LGBTIQ นอกจากนั้นในอีกหลายๆแห่ง การเข้าถึงการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย

นอกจากนั้นยังมี “การบำบัดแก้เพศสภาพ” ที่มีเป้าหมายในการ “รักษา” เปลี่ยนแปลง หรือกดทับความต้องการและตัวตนทางเพศของเรา องค์กร OutRight ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการบริการประเภทนี้เมื่อปีที่แล้วและพบว่าการบำบัดแบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก โดยมีความแตกต่างกันไปตามความรุนแรง นอกจากนั้นการบำบัดแบบนี้ยังไม่ได้ผลตามที่อ้าง และยังสร้างผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพจิตรวมถึงสุขภาพทางกาย และนอกจากนั้น จิตแพทย์ที่ควรจะสนับสนุนการต่อสู้กับปัญหาทางจิตกลับกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้หาผลประโยชน์จาก“การบำบัดแก้เพศสภาพ”เสียเอง ทั้งๆที่รู้และเข้าใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เข้ารับการบำบัดอย่างดี

M.A. เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจาก“การบำบัดแก้เพศสภาพ”ในไนจีเรีย เขาได้บอกกับเราว่า “การบำบัดนั้นทำให้ผลมีรอยแผลเป็นในจิตใจ” และ “เกือบทั้งชีวิต ผมถูกชักนำไปผิดทาง ถูกบอกว่าความคิดของผมนั้นผิดเพี้ยน ในหัวของผมมีแต่ความหวาดกลัวต่อตัวตนทางเพศของตัวเอง แต่ตอนนี้ผมเข้าใจมันดีขึ้น ผมไม่สามารถจะวิ่งหนีตัวตนของตัวเองได้ การบำบัดแก้เพศวิถีต้องถูกหยุดยั้ง” 

สิ่งที่ M.A. พูดนั้นถูกต้อง การบำบัดแก้เพศวิถีจะต้องถูกหยุดยั้ง ซึ่งมีการแบนแล้วที่บราซิล เอกวาดอร์ ไต้หวัน มัลตา และเยอรมัน และเราหวังว่าการบำบัดแบบนี้จะถูกกำจัดให้หมดสิ้น รวมถึงแพทย์ที่ทำการบำบัดแบบนี้ควรจะถูกถอดใบอนุญาตด้วย

ปัญหาด้านสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและมักจะถูกมองข้าม และสุขภาพจิตของชุมชนก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สังคมไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก และ OutRight ต้องการจะช่วยแก้ไขเรื่องนี้ในปีนี้ ด้วยการสนับสนุนจากนักแสดง Stephen Fry เราจะเข้าร่วมการเดินขบวนเสมือนจริงครั้งแรกของโลกในงาน March for Mental Health โดยตลอดเวลาหนึ่งชั่วโมง เราจะพูดถึงความท้าทายเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่ LGBTIQ+ ต้องเผชิญ รวมถึงผลกระทบด้านลบของ “การบำบัดแก้เพศวิถี”

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรากันเถอะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน March for Mental Health ได้ที่นี่

Quantcast