ในปี 1994 RuPaul รับบทในภาพยนตร์แอคชั่นคอมเมดี้เกี่ยวกับการขโมยยารักษา HIV เรื่องนี้
เมื่อ 13 ปีก่อนที่เราจะได้พบกับตอนแรกของการแข่งขัน RuPaul’s Drag Race เราพึ่งรู้ว่า RuPaul ได้ปรากฎตัวในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งในปี 1996 ชื่อว่า Red Ribbon Blues ซึ่งเป็นภาพยนตร์แอคชั่นคอมเมดี้เกี่ยวกับเพื่อนสี่คนที่เริ่มทำการปล้นร้านขายยาเพื่อนำยาสำหรับ HIV ราคาแพงไปแจกจ่ายให้กับคนที่ต้องการ
ในภาพยนตร์ RuPaul รับบทเป็น Duke เจ้าของแกลเลอรี่แห่งหนึ่งในลอสแองเจลิสซึ่งคู่ชีวิตของเขาชื่อ Harold (รับบทโดยตำนานแห่งนิวยอร์คอย่าง Lypsinka) เริ่มสูญเสียความทรงจำและร่างกายเริ่มอ่อนแอจากเชื้อ HIV นั่นทำให้ Duke และ Harold ตัดสินใจขายประกันชีวิตของ Harold เพื่อซื้อ D-64 ยาต้านเชื้อไวรัสตัวใหม่ราคาแสนแพงที่สามารถช่วยชีวิตของ Harold ได้
ด้วยความไม่พอใจกับความไม่ยุติธรรมในสิ่งที่เกิดขึ้นและการต้องไปร่วมงานศพของเพื่อนๆที่เสียชีวิตจากเชื้อ HIV ทำให้ Troy (ที่พึ่งพบว่าตัวเองติดเชื้อ HIV เหมือนกัน) พูดเสนอติดตลกว่าพวกเขาควรไปปล้นร้านขายยาด้วยกัน เพื่อนของ Trey ที่ติดยาเสพติดและมีเชื้อ HIV อีกคนชื่อ Darcy (รับบทโดย Debi Mazar) เห็นด้วยกับเขาและเริ่มวางแผนการปล้นด้วยปืนของเล่นและให้ RuPual เป็นคนดูต้นทาง
พวกเขาเริ่มทำการปล้นร้านยาหลายๆร้านพร้อมกับทิ้งริบบิ้นสีแดง HIV เพื่อเป็นตัวแทนของพวกเขา สื่อต่างๆเริ่มเรียกพวกเขาว่า “กลุ่มผู้ร้ายริบบิ้นแดง” และเชิดชูพวกเขาว่าเป็น “โรบินฮู้ดแห่งยุค 90” ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงการตั้งราคาของบริษัทยาต่างๆ … จนกระทั่งเกิดการยิงปะทะกันระหว่างกลุ่มพวกเขากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แม้ว่า RuPaul จะรับบทเป็นตัวละครที่ช่วยคลายเครียดในเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการที่เขาเกือบทำทุกคนซวยเพราะหากุญแจรถที่จะใช้หลบหนีไม่เจอในการปล้นครั้งแรกและบทที่ชวนให้คนดูหัวเราะได้ แต่บทของเขายังมีความดราม่าจากความคิดถึงที่เขามีต่อคนรักที่กำลังเสียชีวิตและความกังวลว่าเพื่อนๆของเขาอาจถูกยิงหรือจับกุมระหว่างการบุกปล้นครั้งหน้า
ขณะที่ Red Ribbon Blues เองไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์แบบและมีช่วงเวลาที่มีปัญหาบ้าง — เช่นการที่ฮีโร่คนหนึ่งในเรื่องทำร้ายร่างกายเกย์และคำพูดเก่าๆอย่าง “โรคเอดส์เต็มตัว” ถูกใช้ในเรื่องบ่อยมาก — แต่ก็เป็นเรื่องราวที่ทำให้เราได้เห็นถึงสถานการณ์ของตัวยารักษา HIV ในยุค 1990 มากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง | 5 ภาพยนตร์เกี่ยวกับ HIV ที่ไม่ได้หดหู่อย่างเรื่องอื่นๆ
ผู้ชมอายุน้อยอาจไม่เคยรู้ว่าคนที่มีเชื้อ HIV เคยต้องลงสมัครเสี่ยงโชค ซึ่งคนนับแสนจะลงชื่อและมีเพียง 7,000 คนเท่านั้นที่ได้สิทธิในการรักษา คนที่เหลือจะกลายเป็นกลุ่ม”ผู้ซื้อ” (เหมือนกับ Dallas Buyers Club) ที่ต้องพยายามหาซื้อยาในราคาถูกที่สุดเท่าที่จะหาได้
แม้กระทั่งคนรวยมากๆที่มีเชื้อ HIV ยังไม่กล้าที่จะใช้ประกันของบริษัทในการรักษาโรคของตัวเองเพราะกลัวว่าความจริงจะถูกเปิดเผยหรือถูกไล่ออกจากที่ทำงานเพราะเป็นเกย์ ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาต้องยอมรับราคายาที่สุดแพงเหล่านี้
หนึ่งปีก่อนที่ Red Ribbon Blues จะปรากฎต่อสายตาผู้ชม องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ทำการอนุมัติตัวยาต้านเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรก แต่ด้วยราคาที่แพงและปริมาณยาที่น้อยทำให้เกิดการประท้วงของประชาชนต่อบริษัทยาหน้าเลือดที่พร้อมจะปล่อยให้คนตายเพียงเพื่อผลกำไร และหนึ่งปีหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย การติดเชื้อ HIV ในสหรัฐอเมริกาได้ลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ในปี 1981 — หมายความว่า Red Ribbon Blues ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในเรื่อง HIV อย่างแพร่หลาย
แม้ว่ายาต้านเชื้อ HIV ร่วมสมัยจะช่วยให้การมีชีวิตร่วมกับเชื้อเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่ชาวอเมริการาว 6,700 คนยังคงเสียชีวิตจาก HIV ในทุกๆปี ระบบทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกายังคงเป็นระบบที่เอื้อต่อการแสวงผลกำไรที่แม้แต่คนที่มากความสามารถหลายๆคนยังต้องยอมจ่ายเงินหลายหมื่นบาทเพื่อเข้าถึงตัวยาเหล่านี้ได้
หากพูดกันง่ายๆก็คือยังมีคนอีกมากมายที่ต้องการกลุ่มโจรริบบิ้นแดงในทุกวันนี้ — หรือรัฐบาลที่พร้อมสนับสนุนลงทุนให้เกิดการช่วยชีวิตของประชาชนก็น่าจะทดแทนกันได้