ตุรกีจะยังคงบอยคอตการประกวดเพลงยูโรวิชันตราบเท่าที่ยังมีผู้เข้าร่วมแข่งขันที่เป็น LGBTQ เช่น Conchita Wurst

ตุรกีจะยังคงบอยคอตการประกวดเพลงยูโรวิชันตราบเท่าที่ยังมีผู้เข้าร่วมแข่งขันที่เป็น LGBTQ เช่น Conchita Wurst

Be first to like this.

This post is also available in: English Español Français Türkçe

หัวหน้าสื่อมวลชนประเทศตุรกีประกาศยืนยันที่จะบอยคอตการประกวดร้องเพลงยูโรวิชันตราบเท่าที่การแข่งขันบ้านนอกนี้ยังต้อนรับผู้เข้าประกวดที่เป็น LGBTQ

ประเทศมุสลิมนี้ทำการถอนตัวจากการแข่งขันยูโรวิชันหลังจากปี 2012 ด้วยสาเหตุการไม่พอใจระบบโหวตให้คะแนน แต่ Ibrahim Eren หัวหน้าแผนกวิทยุและโทรทัศน์ของตุรกี (TRT) บอกว่าพวกเขาจะไม่กลับมาตราบเท่าที่งานนี้ยังมีผู้เข้าแข่งขันอย่างแดร็กควีนชาวออสเตรียเช่น Conchita Wurst ซึ่งได้รับชัยชนะไปในปี 2014

“เราไม่คิดว่าเราจะมีส่วนร่วมในขณะนี้” Eren บอกกับสำนักข่าว Anadolu “ในฐานะผู้เผยแพร่สื่อสาธารณะ เราไม่สามารถที่จะทำการถ่ายทอดสดตอน 3 ทุ่มที่ยังมีเด็กๆชมโทรทัศน์ได้เห็นชายชาวออสเตรียสวมหนวดและกระโปรงที่บอกว่าตัวเองนั้น’เป็นทั้งผู้ชายและผู้หญิงในขณะเดียวกัน’”

“มีบางอย่างที่บ่งบอกถึงความสับสนทางจิตใจที่นี่” Eren กล่าว “เมื่อมันถูกแก้ไขเมื่อไหร่เราจึงจะกลับมายังการประกวดยูโรวิชันอีกครั้ง”

ในตอนแรกนั้น ประเทศตุรกีทำการประท้วง”กฎหลัก 5 ประการ” ที่บอกว่าสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และเยอรมันจะได้รับการการันตีเข้ารอบชิงแชมป์เป็นอย่างน้อย หลังจากนั้น TRT ก็สัญญาว่าจะกลับมายังการแข่งขันนี้อีกครั้งในปี 2016 ซึ่งก็ไม่เป็นจริง ผู้เข้าร่วมคนสุดท้ายจากตุรกีได้แก่ Can Bonomo ซึ่งได้รับตำแหน่งลำดับที่เจ็ดในปี 2012 ด้วยเพลง “Love Me Back”

ครั้งสุดท้ายที่ประเทศตุรกีได้รับชัยชนะจากการแข่งขันนี้คือปี 2003 ด้วยเพลง “Everyway That I Can” และงานในปี 2004 ก็ถูกจัดขึ้นที่อีสตันบูลตามประเพณี

ด้วยชื่อเล่น “โอลิมปิกเกย์” การแข่งขันยูโรวิชันนั้นมีประวัติผู้เข้าแข่งขันที่เป็น LGBTQ ก่อน Wurst: ในปี 1998 นักร้องแปลงเพศชาวอิสราเอล Dana International ชนะการแข่งขันไปด้วยเพลง “Diva” ในปี 2013 นักร้องชาวฟินแลนด์ Krista Siegfrids ก็ทำการจูบนักเต้นคนหนึ่งเพื่อเป็นการประท้วงการห้ามเกย์แต่งงานของประเทศ หลังจากนั้นอีกสองปี นักร้องชาวลิธัวเนีย Monika Linkyte และ Vaidas Baumila ก็มีการจูบเล็กๆในการแสดงพร้อมกับเพลง “This Time”

ตุรกีนั้นได้รับการมองว่าเป็นหนึ่งประเทศมุสลิมที่มีความก้าวหน้าในกลุ่มประเทศมุสลิม แต่เริ่มมีความเป็นอนุรักษ์นิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการแบนพาเหรด Pride และแอพพลิเคชัน Grindr รวมไปถึงการโจมตีการแสดงออกของ LGBTQ ในประเทศ

ถือเป็นสัญญาณว่าประเทศตุรกีเริ่มกลายเป็นประเทศที่กลัวเพศทางเลือกหรือไม่จากการบอยคอตที่เกิดขึ้น

Related Stories

ดัชนีความปลอดภัยบนโซเชียลมีเดียปี 2022 จาก GLAAD ย้ำถึงความสำคัญของแพลตฟอร์มเพศทางเลือกอย่าง SPACES
ฉลองครบ 5 ปีร้าน Tom of Finland Store ผ่านภาพนายแบบสุดล่ำอย่าง Terry Miller
100 หลังเปิดตัวบนแอปสโตร์ SPACES พิสูจน์ว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับ LGBTQ+ ทุกคน
Hornet เป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งแรกที่ปฏิญาณว่าจะให้ความปลอดภัยของ LGBTQ+ มาเป็นอันดับแรก
Quantcast