ความเป็นมาในเรื่องสิทธิของเพศที่สาม(lgbtq)และเกย์ไทย(Gay Thailand)

ความเป็นมาในเรื่องสิทธิของเพศที่สาม(lgbtq)และเกย์ไทย(Gay Thailand)

Be first to like this.

LGBTQ เป็นตัวย่อมาจากคำว่า Lesbian, gay, bisexual, transgender และ Queer

ซึ่งก็หมายถึงเพศที่สามหรือเพศทางเลือกนั่นเอง แม้ว่าทุกวันนี้ในประเทศไทยจะให้การยอมรับเพศที่สามอย่างเท่าเทียมในทางสังคม แต่ในแง่ของกฎหมายนั้น คู่รักเพศเดียวกันกลับไม่ได้รับสิทธิและผลประโยชน์เท่าเทียมกับคู่สมรสต่างเพศ

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2556 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์ได้เขียนบทความที่กล่าวว่า “ในขณะที่ประเทศไทยถูกต่างชาติมองว่าเป็นสวรรค์ของคู่รักเพศเดียวกัน แต่สำหรับคนไทยเองแล้วกฎหมายกลับไม่ได้ให้ความรู้สึกและความเชื่อมั่นเช่นนั้นเลย”

แม้ประเทศไทยจะนำเสนอตัวเองว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับเกย์ แต่ทุกวันนี้เกย์ไทย(Gay Thailand) และเพศที่สามในไทย (LGBTQ) ก็ยังต้องเผชิญการแบ่งแยกอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ทั้งในด้านสิทธิ ด้านโอกาสของอาชีพการงาน และด้านการยอมรับจากสังคม

แต่โชคดีที่เรามีกลุ่มม มูลนิธิ และองค์กรต่างๆมากมายที่ต่อสู่เพื่อสิทธิชาวเกย์ โดยอัญจารี Anjaree ถือเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในไทยที่สนับสนุนและต่อสู้เพื่อสิทธิความเท่าเทียมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งหญิงรักหญิงและชายรักชาย โดยอัญจารีได้มีการก่อตั้งมานานกว่าสามสิบปีแล้ว เดิมทีเป็นแค่กลุ่มเล็กที่รวมตัวกันในปีพ.ศ.2529 และได้ขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆพร้อมทั้งประสบความสำเร็จมากมาย ทั้งสร้างความตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนและเรียกร้องสิทธิเท่าเทียมไม่แบ่งแยกกลุ่มคน

เดิมแต่อดีตกาล สังคมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยได้มองกลุ่มคนรักร่วมเพศว่าเป็นอาการป่วยหรือผิดปกติทางจิต โดยไทยได้เริ่มทำความเข้าใจและเปลี่ยนทัศนคติเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาประกาศเมื่อปีพ.ศ. 2545 นี้ว่าการรักร่วมเพศไม่ใช้อาการป่วยหรือผิดปกติทางประสาทแต่อย่างใด และถัดมาอีกเพียงแค่ 3 ปี กองทัพไทยก็ได้ประกาศยอมรับให้เพศที่สามสามารถเข้าร่วมทำงานในกองทัพได้

แม้แต่เรื่องของการถูกคุกคามทางเพศ ประเทศไทยก็เริ่มตื่นตัวและได้แก้ไขข้อกฎหมายหลังจากที่ถูกนักสิทธิมนุษยชน, นักสิทธิสตรี และนักสิทธิเพื่อเพศที่สามวิจารณ์มานานว่ามีกฎหมายที่ยังไม่เป็นธรรม คับแคบและล้าหลัง คือเมื่อปีพ.ศ. 2550 ที่ผ่านมานี้เองที่รัฐบาลไทยได้ขยายการจำกัดความของ ‘การข่มขืน’ ว่าเหยื่อนั้นเป็นได้ทั้งเพศหญิงและชาย รวมทั้งในคู่สมรสอีกด้วย

การจัดงานเทศกาลต่างๆ เช่นพาเหรด เกย์ไพร์ด หรือ LGBT ไพร์ด ของประเทศไทยนั้น นอกจากจะเพื่อความรื่นเริงแล้วก็เพื่อที่จะสร้างความตระหนักและเข้าใจในสิทธิของเพศที่สามด้วย แต่เบื้องหลังภาพความสนุกสนานเหล่านี้แท้จริงแล้วไม่ได้ง่ายเช่นนั้นเลย เพราะกว่าจะเป็นดั่งทุกวันนี้เกย์และเพศที่สามต่างต้องผ่านการถูกเลือกปฏิบัติ, ถูกใช้ความรุนแรงและต่อต้านมากมาย ในเชียงใหม่เองนั้นเคยต้องถูกระงับการเดินพาเหรดไปเมื่อปีพ.ศ.2552 เพราะมีกลุ่มคนต่อต้านได้ใช้ความรุงแรงทั้งตะโกนด่าทอและขว้างปาสิ่งของใส่

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเปิดกว้างในเรื่องของการยอมรับเกย์และเพศที่สาม (LGBTQ) โดยได้มีการนำเสนอผ่านสื่อมากมายทั้งทีวี แมกกาซีน มีสถานที่รองรับมากมายทั้งบาร์เกย์ ไนท์คลับ และสปา  แต่นักสิทธิมนุษยชนยังเห็นว่ามันเป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก สังคมต้องรับรู้และทำความเข้าใจในเรื่องปัญหาและความเท่าเทียมและรัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือพร้อมเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายอีกมาก เพราะทุกวันนี้ผู้คนเห็นและยอมรับในการมีตัวตนของเกย์ไทย(Gay Thailand) แต่ยังน้อยนักที่คนทั่วไปได้จะสัมผัสหรือเข้าใจในเรื่องสิทธิของเพศที่สาม

Related Stories

จำนวนผู้ใช้ SPACES ที่เพิ่มขึ้นทำให้เห็นว่าเราต้องมีไพรด์ตลอดทั้งปี
ฉลองครบ 5 ปีร้าน Tom of Finland Store ผ่านภาพนายแบบสุดล่ำอย่าง Terry Miller
ทำไมผมถึงเลิกกฏไม่เดทคนสูบบุหรี่
รัฐบาลสหรัฐพยายามทำลายนิตยสารเกย์ฉบับแรกในยุค 1950
Quantcast