เกย์ไทย(Gay Thailand)อาจมีสิทธิได้แต่งงานก่อนเพื่อนบ้าน

เกย์ไทย(Gay Thailand)อาจมีสิทธิได้แต่งงานก่อนเพื่อนบ้าน

Be first to like this.

ข่าวแว่วมาว่า ประเทศไทยได้มีการยกร่างกฎหมายเรียกร้องสิทธิของเพศที่สามไว้เพื่อยื่นต่อรัฐสภาแล้ว ไม่แน่ว่าในอีกเพียงไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ประเทศไทยอาจมีข่าวดี ยินยอมให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายเป็นประเทศแรกสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นได้

ตามมาตตราที่ 1448 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งระบุว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้” ทำให้การสมรสของคนเพศเดียวกันยังไม่สามารถทำได้ แต่ทุกปีก็ได้มีการยื่นเรื่องร้องเรียนมากมายจากทั้งคู่รักหญิง-หญิง และชาย-ชาย ไปยังศาลปกครองและสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อเรียกร้องในสิทธิของพลเมืองเรื่องความเท่าเทียมกันตามที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

เมื่อใดก็ตามที่มีการนำเสนอเรื่องการเรียกร้องสิทธิในการสมรสของคนเพศเดียวกันต่อรัฐสภา ก็มักจะได้รับผลลัพธ์ที่ไปในเชิงลบ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติที่มีสิทธิพิจารณาข้อกฏหมายตรงนี้นั้นต่างก็เป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุเกือบหรือเกินห้าสิบปีขึ้นไป การยอมรับในเรื่องนี้อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคย แต่เวลาเปลี่ยนสังคมก็เปลี่ยน ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนของคนไทยก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะนี้ พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำลังอยู่ในขั้นปรับแก้ โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งได้ทำการปรึกษาผู้นำทางศาสนาในแง่ของความเหมาะสม โดยคาดการณ์ว่าประเด็นหลักๆที่จะพิจารณาปรับแก้ก่อน คือเรื่องของสิทธิจัดการทรัพย์สินมรดก และการลดหย่อนภาษี

จากการสุ่มสำรวจประชาชนทั่วไปเป็นจำนวน 300 คน พบว่า มีกลุ่มคนเพียงแค่ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วยกับการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน ในขณะที่มีกลุ่มคนอีกมากถึงร้อยละ 78 ที่เห็นด้วยและสนับสนุนในสิทธิการแต่งงานของกลุ่มคนเพศที่สาม

ด้วยความที่ข้อกฏหมายตามมาตตราที่ 1448 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นี้ ไม่เห็นชอบกับการสมรสของคนเพศเดียวกัน ปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบอีกมากมายไปยังข้อกฎหมายอื่นๆที่มีผลโดยตรงต่อสิทธิของกลุ่มคนเพศที่สาม เช่นข้อกฏหมายการรับสิทธิพยาบาลต่างๆที่พึงได้ของคู่สมรส สิทธิการให้ความยินยอมแก่แพทย์รักษาพยาบาลคู่ชีวิตยามฉุกเฉิน สิทธิการมีบุตรร่วมกันหรือการเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม รวมทั้งสิทธิการทำนิติกรรมและธุรกรรมทางการเงินต่างๆ

แม้ว่าบุคคลเพศที่สามหรือเกย์ไทย (Gay Thailand)นั้นจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทางสัมคม แต่ในแง่ของกฎหมายแล้วยังถือว่าถูกจำกัดสิทธิอยู่มาก ทั้งที่จำนวนของเกย์ไทยทั้งหญิงและชายนั้นมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้คนยอมรับตัวตนและกล้าแสดงออก แม้แต่ดารานักแสดงคนดังทั้งหลายก็ยังเปิดกว้างไม่ได้ปิดบังเพศของตัวเอง แต่กฏหมายไทยก็ยังคงไม่อนุญาตให้บุคคลที่แปลงเพศแล้วอย่างเช่นสาวประเภทสอง แก้ไขบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตในส่วนของเพศและคำนำหน้าตัว ซึ่งตรงนี้ได้สร้างปัญหาและความสับสนไม่น้อยเวลาที่จะไปต่างประเทศแล้วต้องยื่นบัตรแสดงตัวแก้เจ้าหน้าที่

อย่างไรก็ตาม ด้วยความตื่นตัวในเรื่องของสิทธิและความเท่าเทียมของมนุษยชน พร้อมทั้งความพยายามและการร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ทำให้เรามีความหวังได้ว่า เกย์ไทย(Gay Thailand) จะได้รับสิทธิในการจดทะเบียนสมรสระหว่างเพศเดียวกันอย่างชอบธรรมตามกฎหมายในอีกไม่นานเกินรอ

Quantcast