คีโตไดเอทคืออะไร และฟังความเห็นของนักโภชนาการต่อการลดน้ำหนักด้วยวิธีดังกล่าว

คีโตไดเอทคืออะไร และฟังความเห็นของนักโภชนาการต่อการลดน้ำหนักด้วยวิธีดังกล่าว

Be first to like this.

This post is also available in: العربية English Español Português Türkçe

ถึงตอนนี้คุณคงจะได้ยินเพื่อนๆพูดถึงการลดน้ำหนักด้วยวิธีคีโดไดเอท (หรือคีโตเจนิคไดเอท) วิธีการควบคุมอาหารที่เน้นไขมันและงดคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้ร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน แต่มันเป็นวิธีที่เหมาะกับคุณหรือไม่ ลองไปดูกัน

คีโตไดเอทคืออะไร

การควบคุมอาหารแบบคีโตไดเอทเชื่อว่าอาหารที่เรารับประทาน 75% ควรจะเป็นไขมัน 20% เป็นโปรตีน และควรเป็นคาร์โบไฮเดรทน้อยกว่า 5% หรือพูดง่ายๆก็คือการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะ“คีโตสิส” ซึ่งเป็นสภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือด (อินซูลิน) ลดลงถึงจุดที่ร่างกายมีการเผาผลาญไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนน้ำตาล

แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ร่างกายจะใช้ไขมันเป็นพลังงานนั้นใช้เวลาราวสามถึงสี่วัน ในช่วงเวลานั้น หลายๆคนอาจเกิดอาการหน้ามืด เวียนหัว อยากอาเจียน คิดอะไรไม่ค่อยออก และมีอาการเป็นตะคริวและปวดหัวร่วมด้วย (บางครั้งเรียกอาการคล้ายเป็นไข้นี้ว่า “คีโตฟลู”)

แต่อาการ”เป็นไข้”จะหายไปหลังจากสามถึงสี่วัน และด้วยการที่คาร์โบไฮเดรตถูกเก็บรักษาไว้ในร่างกายมีปริมาณน้ำที่มาก ทำให้คีโตไดเอททำให้เกิดการลด“น้ำหนัก”อย่างรวดเร็ว

นักโภชนาการมีความเห็นอย่างไรกับคีโตไดเอท

การลดน้ำหนักด้วยวิธีคีโตเจนิคไม่ใช่เรื่องใหม่นัก เพราะการทำคีโตไดเอทในหลายๆรูปแบบถูกใช้มาตั้งแต่ช่วงปี 1920 เพื่อรักษาโรคลมบ้าหมูในเด็ก (นอกจากนั้นงานวิจัยบางชิ้นพบว่าการไดเอทดังกล่าวสามารถลดอาการของโรคทางระบบประสาทได้) นอกจากนั้นยังคล้ายกับการไดเอทแบบแอทคินส์ในปี 1973 หรือการลดน้ำหนักจากฝรั่งเศสชื่อดูกองไดเอทในปี 2000

แต่นักโภชนาการ Kristin Kirkpatrick บอกว่าการไดเอทวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่จะอย่างสม่ำเสมอได้ง่าย โดยเฉพาะในระหว่างการเดินทางหรือในสถานที่ที่คุณไม่สามารถควบคุมอาหารที่ตัวเองทานได้ เธอยังบอกว่าในบางคนมีอาการท้องผูกเนื่องจากปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายได้รับน้อยลงมาก

นักโภชนาการอีกท่าน Toby Amidor บอกว่าเนื่องจากการไดเอทนี้ร่างกายต้องใช้ไขมันในปริมาณที่มาก ทำให้ผู้ไดเอทต้องทานวิตามินเสริมเพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอ

U.S. News และนักโภชนาการรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและโรคหัวใจให้คะแนนคีโตไดเอทที่ 2 จาก 5 ดาว เนื่องจากการไดเอทนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและอาจทำให้เกิดโรคหัวใจเพราะการทานไขมันที่มากเกินไป แต่มีบางส่วนที่แย้งว่าการไดเอทนี้อาจส่งเสริมให้เกิดการทานไขมันดีมากขึ้น

และนักโภชนาการคนสุดท้าย Maria Zamarripa ไม่แนะนำการคีโตไดเอทให้กับประชาชนทั่วไปเพราะเป็นการเน้นการลดคาร์โบไฮเดรตและตัดตัวเลือกทางอาหารไปมาก และยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาว

เธอจึงแนะนำให้ทานอาหารให้ครบทุกหมู่เพื่อให้มีตัวเลือกในการทานอาหารที่หลากหลายและเป็นวิธีการควบคุมอาหารที่มีผลเสียน้อยกว่า

Quantcast