25 ปีก่อน Rage Against the Machine สอนเราให้ต่อสู้กับการกดขี่ด้วยการโชว์น้องชายบนเวที

25 ปีก่อน Rage Against the Machine สอนเราให้ต่อสู้กับการกดขี่ด้วยการโชว์น้องชายบนเวที

Be first to like this.

This post is also available in: English Русский

วงดนตรีร๊อคในลอสแองเจลิสอย่าง Rage Against the Machine เป็นที่รู้จักในด้านการแสดงออกทางการเมือง อัลบั้มแรกของวงในปี 1998 พูดถึงการเผาธง การกักขังความคิด และตำรวจเหยียดเชื้อชาติ  นอกจากนั้นพวกเขายังถูกไล่ออกจากรายการ Saturday Night Live ในปี 1996 เพราะห้อยธงชาติกลับหัวจากลำโพงที่ใช้แสดง ในปี 2008 พวกเขาได้เล่นคอนเสิร์ตประท้วงใกล้ๆกับการประชุมของพรรครีพับบลิกันโดยแต่งตัวเป็นนักโทษที่ Guantanamo Bay ในชุดสีส้มและเสื้อคลุมหัวสีดำ

แต่เมื่อ 25 ปีก่อน Rage Against the Machine ได้ทำการประท้วงทางการเมืองอย่างกล้าหาญที่งานดนตรีครั้งที่ 3 ของ Lollapalooza ใน Philadelphia ด้วยการยืนนิ่งไม่ใส่เสื้อผ้าตลอดการแสดงของพวกเขาพร้อมกับตัวอักษรที่ถูกเพ้นท์บนหน้าอกและเทปสีดำปิดปากตัวเอง

พวกเขาทำเช่นนั้นเพื่อประท้วงการบังคับติดสติ๊กเกอร์”ผู้ปกครองควรแนะนำ”ของรัฐบาลสหรัฐบนเพลงทุกชนิดที่มีคำหยาบหรือคำที่มีความรุนแรง ซึ่งเริ่มต้นปรากฏให้เห็นในช่วงต้นปี 1990

Rage Against the Machine มองว่าสติ๊กเกอร์ดังกล่าวเป็นวิธีการกดขี่อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่ออัลบั้มแรกของพวกเขาที่มีคำว่า “fuck” ถึง 28 ครั้งและ “shit” 6 ครั้ง ทำให้ต้องมีสติ๊กเกอร์ดังกล่าวบนหน้าปกอัลบั้มของตัวเอง

ในระหว่างการแสดงที่ Lollapalooza ก็พบกับอีกปัญหาหนึ่งเมื่อนักร้องนำ Zack de la Rocha ทำตัวเองเสียงหายจากการแสดงที่ North Kingstown ใน Rhode Island เมื่อคืนก่อนหน้า Rage สามารถที่จะเลือกแสดงพร้อมชุดเครื่องดนตรีครึ่งๆกลางๆพร้อมกับนักร้องจำเป็นหรือเลือกที่จะขึ้นไปบนเวทีและไม่พูดอะไรเลย ไม่ว่าจะทางไหน พวกเขาก็เสี่ยงที่จะเสียโอกาสคว้าแฟนดนตรีใหม่ๆนับพันในงานที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเมืองหนึ่ง

พวกเขาเลือกทางเลือกหลังโดยการปรากฏตัวบนเวทีพร้อมกับเสื้อผ้า 0 ชิ้นและแบ่งตัวอักษรคนละหนึ่งตัวจาก PMRC ไว้บนหน้าอก ซึ่งย่อมาจาก Parents Music Resource Center หรือกรรมการที่ทำการตัดสินใจเรื่องสติ๊กเกอร์”ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครอง”นั่นเอง

พวกเขายืนในช่วงเวลาการแสดงของพวกเขาในตอนบ่ายทั้งหมด 15 นาทีพร้อมกับเทปสีดำขนาดใหญ่ปิดปาก และเสียงของความผิดหวังก็สะท้อนออกจากลำโพงบนเวที

และนี่คือภาพการประท้วงของ Rage Against the Machine ในปี 1993 (ไม่เหมาะสมกับที่ทำงาน):

“ตอนพวกเขาเดินขึ้นไปบนเวที ทุกๆคนชอบมาก พวกเขาส่งเสียงเชียร์สุดๆ” Tim Commerford มือเบสประจำวงกล่าว “แต่พวกเขาไม่รู้เลยว่าเราจะไม่ทำการแสดงสักนิดเดียว หลังจากยืนได้ 10 นาที เสียงเชียร์ก็เปลี่ยนเป็นการปาขวด พวกเขารู้สึกผิดหวัง และน้องชายของพวกเราถูกปาด้วยเหรียญ 25 เซนต์หลายครั้งมาก”

เจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญพวกเขาลงจากเวทีหลังจากผ่านไปได้ 15 นาที และโชคดีที่พวกเขาไม่ถูกดำเนินคดี Rage Against the Machine กลับมายัง Philadelphia อีกครั้งในไม่กี่เดือนให้หลังเพื่อมาเล่นคอนเสิร์ตคืนให้กับแฟนๆที่ผิดหวังในครั้งนั้น

เมื่อถามถึงประสบการณ์ของการประท้วง มือกลองของวง Brad Wilk บอกว่า “ผมคิดถึงความรู้สึกของลมที่พัดผ่านไข่ด้านล่าง คิดว่าคนแถวหน้าจะคิดยังไงบ้าง นึกถึงแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป และนึกว่าพวกเขาจะคิดถึงเรื่องอะไรตอนที่เอาไปทำข่าว จริงๆแล้วการประท้วงนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่และผมก็รู้สึกเฉยๆ เราเกิดขึ้นบนโลกนี้โดยที่ไม่มีเสื้อผ้าอยู่แล้ว มันเป็นการปลดปล่อยตัวเองมากทีเดียว”

คุณมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการประท้วงของ Rage Against the Machine

Related Stories

สมาชิก ​Hornet บน Android สามารถสร้างซาวด์แทร็กของตัวเองด้วย AI ได้ในเวอร์ชั่น 7.7
คู่เกย์กลายเป็นไวรัลหลังจากถ่ายภาพย้อนการจูบที่พวกเขาภูมิใจเมื่อ 24 ปีก่อน
ชายคนแรกถูกปลดจากจากกองทัพสหรัฐเพราะเป็นเกย์เมื่อ 243 ปีก่อน
ศิลปินเกย์ลัทธิคอมมิวนิสท์จากรัฐเคนทักกีกับเรือนร่างผู้ชายในผลงานของเขา
Quantcast