อินเดียยกเลิกลงโทษรักร่วมเพศ: ศาลสูงสุดของประเทศปฏิเสธการใช้มาตรา 377

อินเดียยกเลิกลงโทษรักร่วมเพศ: ศาลสูงสุดของประเทศปฏิเสธการใช้มาตรา 377

Be first to like this.

This post is also available in: English Español

ศาลสูงสุดของอินเดียได้ยกเลิกการลงโทษการรักร่วมเพศและทิ้งมาตรา 377 จากประมวลกฎหมายอาญาของประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือจากการปกครองของประเทศอังกฤษ โดยศาลตัดสินว่าการลงโทษทางกฎหมายบนหลักของเพศเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

“การลงโทษความรักร่วมเพศเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล พลการ และฝืนรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน” หัวหน้าผู้พิพากษา Dipak Misra กล่าว

ผู้พิพากษา Indu Malhotra เชื่อว่า “ประวัติศาสตร์ยังติดค้างคำขอโทษ”แก่ชาว LGBT จากการขับไล่พวกเขา

“เรากำลังชมประวัติศาสตร์ถูกเขียนขึ้นอีกครั้ง” นักข่าว Anna MM Vetticad ทวีต “ขอชื่นชมและแสดงความยินดีต่อนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของ #LGBT หลังจากการต่อสู้เพื่อมาถึงจุดนี้ พวกคุณคือผู้ที่ช่วยปกป้องประเทศอินเดียจากความอับอายจากการเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศบนโลกที่ยังมีการลงโทษ #การรักร่วมเพศ”

ผมดีใจที่ได้เห็นกฎหมายของอินเดียได้ก้าวทันวัฒนธรรมของประเทศในที่สุด” นักเขียน Amish Tripathi ทวีต “ประเพณีดั้งเดิมของอินเดียไม่เคยมีการลงโทษกลุ่มเพศทางเลือก และผมภูมิใจที่ได้เห็นอินเดียสมัยใหม่แสดงถึงคุณค่าแห่งอิสระที่บรรพบุรุษของเราสร้างไว้”

มาตรา 377 นั้นลงโทษ”การร่วมเพศที่ขัดต่อลักษณะทั่วไปของธรรมชาติ” ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือสัตว์ชนิดไดก็ตามอาจถูกจำคุกนานถึง 10 ปีจากการร่วมเพศที่สมยอมทั้งสองฝ่าย นอกจากบทลงโทษดังกล่าว มาตรานี้ยังยุยงให้เกิดการล่วงละเมิดและสร้างมลทินให้กับชาว LGBTQ ในสังคมของประเทศอินเดีย แต่ศาลได้กล่าวว่าส่วนอื่นๆของมาตรา 377 ในด้านการมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์และผู้เยาว์ยังคงมีผลเหมือนเดิม

การยกเลิกลงโทษรักร่วมเพศในประเทศอินเดียเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2009 เมื่อศาลจากเดลีตัดสินใจงดการใช้มาตรา 377 แต่คำตัดสินถูกพลิกโดยคำตัดสินของศาลสูงสุดในปี 2013 ในกรณี Suresh Kumar Koushal และมูลนิธิ Naz Foundation เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศาลชั้นสูงได้ตัดสินใจรับฟังคำร้องยกเลิกการใช้มาตราที่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจนนี้ด้วย

ภาพ: NBC News

มานเวนทระ สิงห์ โคหิล เชื้อพระวงศ์ที่เป็นเกย์อย่างเปิดเผยองค์แรกในอินเดียรู้สึกมีหวังกับการตัดสินเกี่ยวกับมาตรา 377 ในวันนี้

มานเวนทระ สิงห์ โคหิล

“มาตราดังกล่าวมีรากฐานมาจากศีลธรรมของวิคตอเรีย ไม่ใช่ศีลธรรมของอินเดีย” เจ้าชายกล่าวกับสำนักข่าว Gay Star News โดยบอกว่าประเทศอินเดียนั้นยอมรับชาว LGBTQ มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ซึ่งมีหลักฐานในคัมภีร์กามสูตร และมาตราการ 377 นั้น”เป็นการละเมิดสิทธิของมนุษย์ที่จะมีอิสระในการรัก”อย่างชัดเจน

แต่การตัดสินนั้นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น Manvendra ที่เปิดเผยตัวตนในปี 2006 กล่าว “สิทธิของเพศทางเลือกนั้นไม่ควรจะอยู่แค่ในห้องตัดสินเท่านั้น แต่ควรจะอยู่ในความคิดและจิตใจของประชาชนชาวอินเดียด้วย”

คุณคิดว่าการปฏิเสธใช้มาตรา 377 จะเปลี่ยนมุมมองต่อประชาชนที่เป็น LGBTQ ในประเทศอินเดียได้หรือไม่?

Related Stories

Hornet หยุดการสร้างรายได้ในรัสเซีย แต่เพศทางเลือกยังคงใช้งานแอปได้ตามปกติ
คิดก่อนสูบบุหรี่ไฟฟ้า กับข้อเสียที่หลายคนไม่รู้
10 ซูเปอร์ฮีโร่มาร์เวลเพศทางเลือกที่คุณอาจไม่เคยรู้
องค์กรการกุศล Cheeky Charity สร้างการตระหนักเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีสุดบรรเจิด
Quantcast