ไต้หวันอาจให้มีการลงประชามติเรื่องความเท่าเทียมในการแต่งงาน สร้างความตกใจและผิดหวังให้กับนักเคลื่อนไหว

ไต้หวันอาจให้มีการลงประชามติเรื่องความเท่าเทียมในการแต่งงาน สร้างความตกใจและผิดหวังให้กับนักเคลื่อนไหว

Be first to like this.

This post is also available in: English

รายงานข่าวในพื้นที่แจ้งว่ารัฐบาลไต้หวันปล่อยให้การตัดสินใจประเด็นความเท่าเทียมในการแต่งงานเป็นของการลงประชามติของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงในเดือนพฤษจิกายน 2018 ซึ่งการอนุมัติการออกเสียงนี้เกิดขึ้นหลังจากไม่มีการดำเนินการใดๆจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2017 เมื่อสภารัฐธรรมนูญประกาศว่าคำนิยามการแต่งงานระหว่าง“ชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งคน”เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการการออกเสียงตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปในการลงประชามติ ซึ่งนักเคลื่อนไหวที่ต่อต้าน LGBTQ กำลังเฝ้ามอง หมายความว่าในเดือนพฤษจิกายนนั้นจะมีการออกเสียงใน 3 ประเด็น ได้แก่ การแต่งงานควรจะเป็นกิจกรรมที่มีไว้สำหรับเพศต่างกันเท่านั้นหรือไม่ ควรจะมีการสอนเรื่องเกย์และเลสเบี้ยนในโรงเรียนหรือไม่ และคู่รักระหว่างเพศเดียวกันควรจะมีสิทธิในการแต่งงานภายใต้กฎหมายใหม่หรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง | นักเคลื่อนไหวชาวคริสเตียนที่ต่อต้านเพศทางเลือกพยายามอย่างมากที่จะหยุดยั้งการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน

สภารัฐธรรมนูญกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2017 ว่ารัฐมีเวลาเพียงแค่ 2 ปีในการดำเนินการมอบสิทธิในการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าทุกอย่างต้องเรียบร้อยภายในเดือนพฤษภาคม 2019 แต่เมื่อสภาไม่ได้เจาะจงวิธีการดำเนินการ และการเดินหน้าเป็นไปอย่างเชื่องช้า กลุ่มผู้ต่อต้านเพศทางเลือกในใต้หวันจึงสามารถยื่นคำร้องให้เกิดการลงชื่อออกเสียงต่อคณะกรรมการการออกเสียงกลางประจำประเทศไต้หวัน

ข้อเสียของการลงชื่อประชามติ

Jack Hsiao ผู้จัดการทั่วไปของ Hornet ในไต้หวันกล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในออสเตรเลีย คือสมาชิกส่วนมากในสภาไม่กล้าที่จะตัดสินใจและถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชนของเพศทางเลือก จึงเลือกให้สาธารณะเป็นผู้ตัดสินใจ

แต่ Hsiao เสริมว่าการปล่อยให้อนาคตของการแต่งงานอยู่ในกำมือของการตัดสินใจของสาธารณะมีข้อเสียหลายประการ เช่นในกรณีของประเทศอเมริกาที่เพศทางเลือกเป็นชนกลุ่มน้อย การให้มีการออกเสียงโดยใช้คนทั้งหมดทำให้เพศทางเลือกอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ นอกจากนั้นคู่รักเพศเดียวกันในไต้หวันไม่มีสิทธิในการแต่งงานแต่มีสิทธิใน”สถานะคู่รัก” ซึ่งสามารถทำให้เกิด”สถานะที่ไม่เท่าเทียม” หรือสถานะชั้นสองที่ไม่ได้มอบสิทธิที่เท่ากับการแต่งงาน

และการออกเสียงประชามติที่กำลังจะมีขึ้นเป็นการออกเสียงแบบไม่ผูกพัน หมายความว่าการมอบสิทธิในการแต่งงานให้กับคู่รักเพศเดียวกันยังคงเป็นหน้าที่ของสภารัฐธรรมนูญ หากเกิดการอนุมัติสิทธิแบบแยกสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน พวกเขาอาจพบกับปัญหาใหม่ที่อาจส่งผลให้สิทธิในการแต่งงานอย่างเท่าเทียมถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติของไต้หวันในประเด็นความเท่าเทียมในการแต่งงาน บอกเราที่คอมเมนท์ด้านล่าง

Related Stories

วิธีชวนคนที่แอบชอบที่ฟิตเนสออกเดท (หรือคนที่แอบชอบที่ไหนก็ได้)
7 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเกย์และไบที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทานอาหาร
ทำมาขายใคร​: โคมไฟหนังหุ้มปลาย
'จู๋ใหญ่ฤดูร้อน' คือเรื่องจริง
Quantcast