‘Twelve Nudes’ อัลบั้มใหม่ของ Ezra Furman คือพังก์ร็อกที่ดูถูกระบบชายเป็นใหญ่ในสังคม
This post is also available in: English
ครั้งสุดท้ายที่เราเห็นนักดนตรีอินดี้ร็อกปลุกระดมอย่าง Ezra Furman เราเป็นแค่ผู้ชมในการเดินทางของเพศทางเลือกคนรหนึ่ง ซึ่ง Transatlantic Exodus คือผลงานชิ้นดีชิ้นหนึ่ง และอัลบั้มใหม่ชื่อ Twelve Nudes ของ Ezra Furman ก็อัดแน่นมาพร้อมกับการดูถูก กามอารมณ์ และความสุขอย่างเต็มเปี่ยม
ด้วยจำนวนเพลง 11 เพลงและเวลาที่นาน 28 นาทีพอดี Twelve Nudes ไม่ใช่อัลบั้มสำหรับคนใจเสาะ Furman ได้เรียกอัลบั้มนี้ว่าเป็น“ไฟป่าแห่งด้านลบที่ถูกควบคุม” และยังบอกว่า “ผมคิดว่าอารมณ์ทั้งหมดของอัลบั้มนี้คือช่วงเวลาหลายๆปีที่ผ่านมา และยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบชายเป็นใหญ่ในสังคม การที่คนจนถูกกล่าวโทษ และคนรวยสามารถรอดตัวจากการกระทำทุกอย่างได้ แต่สุดท้าย ทั้งหมดนี่กลับดูเป็นเหมือนผลลัพธ์จากระบบเพียงระบบเดียว — ระบบชายเป็นใหญ่ผสมกับทุนนิยมที่สร้างให้ภาพลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งสำคัญ และยังส่งผลร้ายกับเพื่อนๆของผมและคนอื่นๆอีกมากมาย”
ความรู้สึกนี้ชัดเจนมากขึ้นในเพลง “Trauma” และท่อนร้อง “years roll on and we still have not dealt with our trauma” (ความเจ็บปวดที่ยังคงอยู่แม้จะผ่านไปนานหลายปี) หรือเพลง “Evening Prayer aka Justice” ที่ปลุกให้เด็กๆรุ่นใหม่ได้ตื่นขึ้น และเพลงยาว 56 วินาทีอย่าง “Blown” ที่พูดถึงกลุ่มคนเพศทางเลือกที่ถูกขับไล่ให้กลายเป็นคนนอกในสังคม
ในเพลงอื่นๆของ Ezra Furman ที่ไม่ได้พูดถึงความอยุติธรรมที่เขาพบ เนื้อเพลงก็จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการปลอบโยนจากความรัก และร็อกแอนด์โรล เพลงเปิดอัลบั้มอย่าง “Calm Down aka I Should Not Be Alone” คือการผสมผสานระหว่าง Sex Pistols และเพลงของ The Rolling Stones’ ชื่อ “Sympathy for the Devil” รวมถึงการร้องแบ็คอัพที่สุดกระชากใจ หรืออย่างเพลง “I Wanna Be Your Girlfriend” — เพลงเดี่ยวในอัลบั้ม — ที่พูดถึงตลาดแรงงานและศาสนาที่มีบทบาทในเรื่องของความรัก แต่ยังคงมีกลิ่นอายดนตรีจากยุค 50 และเสียงลมหายใจอันโหยหวนของเขา
เสี่ยงของ Furman นั้นหากคุณไม่ชอบก็จะเกลียดไปเลย โดยคนที่ไม่ชอบก็จะมองว่าเขาขี้บ่นและดราม่าเกินจริง แต่ผมกลับชอบความเปลือยและความรักที่ Furman มีให้กับเทคนิคทางดนตรี คงจะแย่ไปกว่านี้หากเขาเป็นนักดนตรีป๊อป แต่มันไม่ใช่แบบนั้น เขาคือศิลปินร็อกแอนด์โรลที่มีจิตวิญญาณไม่ต่างไปจากนักแสดงในช่วงยุค 50 เป็นต้นมาแม้แต่น้อย
และดนตรีของเขาแทบจะจัดเป็นประเภทของตัวเองได้เลยทีเดียว ไม่มีศิลปินร็อกคนไหนที่กล้าออกมาท้าทายสมมติฐานในสังคมได้อย่างที่เขาทำอย่างเช่นในเพลง “Tutti Frutti” ทั้งความบ้าคลั่ง ความหลงไหล ความน้อยใจ ความโมโห ความร่านเซ็กส์ และความรัก — Furman คือตัวตนแห่งความภาคภูมิใจ ที่คงไม่มีอะไรสรุปตัวเขาได้ดีไปกว่าเพลง “What Can You Do But Rock ‘N’ Roll” อีกแล้ว