ทำความเข้าใจคำศัพท์ LGBTQ ในภาษาไทยให้มากขึ้น

ทำความเข้าใจคำศัพท์ LGBTQ ในภาษาไทยให้มากขึ้น

Be first to like this.

ประเทศไทยเป็นประเทศปลายทางของนักท่องเที่ยวชาว LGBTQ+ แต่แม้ว่าในประเทศไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยความเสมอภาค แต่คนไทยจำนวนมากยังคงไม่คุ้นชินกับชาว LGBTQ+ ซึ่งสังเกตได้จากคำศัพท์ที่ชาวไทยใช้กัน

ในภาษาไทยมีหลายๆคำที่ใช้แทนสมาชิกกลุ่ม LGBTQ+ แต่คำส่วนมากยังคงเป็นคำที่ใช้สำหรับผู้ชาย และเป็นคำที่หลายคนมองว่าไม่สุภาพ หรือไม่ถูกต้องตามเพศสภาพจริงๆ คำศัพท์ที่ใช้เรียกชาว LGBTQ+ แต่ละกลุ่มยังคงไม่ได้รับความเข้าใจอย่างแพร่หลาย เราจึงอยากใช้โอกาสนี้ในการอธิบายคำศัพท์ที่ถูกใช้กันทั่วโลกเพื่ออธิบายตัวตนทางเพศให้ละเอียดยิ่งขึ้น

อย่างเช่นในคำย่อ LGBTQ+ เอง ก็เป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษคำว่า “lesbian, gay, bisexual, transgender and queer“

คำว่า “lesbian” (เลสเบี้ยน) เป็นคำที่ใช้เรียกผู้หญิงที่มีความรู้สึกดึงดูดทางเพศและทางอารมณ์ต่อบุคคลที่เป็นผู้หญิงเหมือนกัน

คำว่า “gay” (เกย์) ใช้เรียกผู้ชายที่มีความรู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้ชายเหมือนกัน โดยบางครั้งคำนี้ถูกใช้เพื่อเรียกชาว LGBTQ โดยรวม แต่ถูกใช้ในลักษณะดังกล่าวน้อยลงเรื่อยๆ และเป็นตัวเลือกที่ไม่ค่อยเหมาะสมนัก

“Bisexual” (ไบเซ็กชวล) หมายถึงบุคคลที่มีความรู้สึกดึงดูดทางอารมณ์ ทางกาย หรือทางเพศต่อหลายๆเพศ โดยความรู้สึกเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องแบ่งให้กับทุกเพศอย่างเท่ากัน และอาจมีความชอบเพศหนึ่งมากกว่าเพศอื่นๆก็ได้

คนที่เป็น “transgender” (ทรานส์เจนเดอร์) คือคนที่มีความรู้สึกว่าตัวตนทางเพศของตัวเองไม่สอดคล้องกับเพศตามที่เกิดมา โดยปัจจุบันมีการใช้คำว่า “trans” แบบสั้นๆเช่นกัน รายละเอียดสำคัญอย่างหนึ่งของคนกลุ่มนี้สามารถเรียกว่าเป็นคนข้ามเพศได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศ และชาวข้ามเพศหลายคนก็ตัดสินใจไม่เข้ารับการผ่าตัดด้วยตัวเอง

และสุดท้ายคือคำว่า “queer” (เควียร์) คำนี้สามารถใช้ได้สองวิธี แบบแรกคือแบบที่ไม่มีคำนิยามตายตัว และใช้เรียกคนที่เป็นเกย์ หรือไบเซ็กชวล นอกจากนั้น คำว่า “queer” ยังเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มชาว LGBTQ+ และบางครั้งถูกใช้เป็นคำเรียกกลุ่มคนที่ไม่ใช่คนรักต่างเพศทั้งหมด

มีหลายๆคนที่ไม่ชอบใช้คำว่า “queer” เพราะในอดีตเคยถูกใช้เป็นคำสแลงเรียกชาว LGBTQ+ แต่ก็มีคนที่มากที่ใช้คำนี้เรียกตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจ และสะท้อนถึงตัวตนที่พวกเขาเป็น

เครื่องหมายบวกใน LGBTQ+ สะท้อนให้เห็นว่าความหลากหลายในเรื่องตัวตนทางเพศไม่ได้สิ้นสุดแค่คำที่ใช้กันเท่านั้น และบ่อยครั้งเราอาจได้เห็นคำว่า “LGBTQIA+” ที่รวมกลุ่ม “intersex” (อินเตอร์เซ็กส์) และ A สำหรับกลุ่ม “asexual” (เอเซ็กชวล) 

“Intersex” ใช้เรียกกลุ่มคนที่เกิดมามีอวัยวะเพศหรือโครโมโซมที่ไม่เข้ากลุ่มตามคำนิยามเพศชายหรือเพศหญิง และคำว่า “asexual” เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่ไม่มีความรู้สึกดึงดูดทางเพศต่อกลุ่มใดเลย

นอกจากนั้นยังมีอีกหลายๆคำที่เกี่ยวข้องกับตัวตนทางเพศ​ เช่นคำว่า “Cisgender” หรือ “cis” ที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตัวตนทางเพศสอดคล้องกับเพศที่ได้รับตอนเกิดมา (หรือถ้าแปลง่ายๆก็คือกลุ่ม “non-trans” หรือคนที่ไม่ใช่กลุ่มคนข้ามเพศ) 

“Genderfluid” (เจนเดอร์ฟลูอิด) ใช้เรียกคนที่ตัวตนทางเพศมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยพวกเขาอาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชาย หรืออยากเป็นผู้หญิง หรือไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องนิยามตัวเองเป็นเพศใดเพศหนึ่งโดยเฉพาะ

และยังมีคำว่า “Nonbinary” (นอนไบนารี) หรือสั้นๆว่า “enby” มักจะใช้เรียกคนที่ไม่คิดว่าตัวเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิง และอาจเป็นอะไรที่มากกว่าเพศที่สังคมตีกรอบไว้

Quantcast