ศาลสเปนสั่งให้ชายไบเซ็กชวลจ่ายเงินให้อดีตภรรยาเพราะ ‘ปิดบังตัวตนทางเพศ’ กับเธอ

ศาลสเปนสั่งให้ชายไบเซ็กชวลจ่ายเงินให้อดีตภรรยาเพราะ ‘ปิดบังตัวตนทางเพศ’ กับเธอ

Be first to like this.

This post is also available in: English Español

การตัดสินคดีที่น่าตกใจที่เมือง Valencia ประเทศสเปนย้ำให้เห็นถึงการมองข้ามไบเซ็กชวล กล่าวหาคนรักมากกว่าเพศเดียวว่า ‘จริงๆแล้วก็เป็นเกย์’ และที่แย่กว่านั้นคือการตัดสินในครั้งนี้ลงเอยด้วยการจ่ายเงินให้กับอดีตภรรยาของทนายความและนักเคลื่อนไหวคนหนึ่ง

Javier Vilalta บอกว่าเขารู้สึก “งงงวย” เมื่อได้รับเอกสารแจ้งว่าโดนฟ้องจากอดีตภรรยาที่หย่ากันไปเมื่อสิบปีก่อน เธอฟ้องเขาในข้อหาปิดบัง “ตัวตนทางเพศที่แท้จริง” จากเธอ

หลังจากการดำเนินการไปได้สามเดือน ศาลได้ตัดสินให้ Vilalta ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับภรรยาของเขาทุกปีเพราะเขา “จงใจปิดบัง” อาการรักร่วมเพศของตัวเอง อย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจให้ตรงกันคือเขาไม่ใช่คนรักร่วมเพศ น่าเศร้าแค่ไหนที่ในปี 2020 ยังมีคนที่ไม่เข้าใจความเป็นไบเซ็กชวล และซ้ำร้ายที่ศาลได้มองข้ามความเป็นไบของเขาไปเลย

Vilalta พูดถึงการเป็นไบเซ็กชวลในระหว่างการตัดสิน (แปลจากภาษาสเปน) “การสืบสวนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าอับอาย และคำตัดสินเป็นเหมือนการตบหน้ากัน แต่ที่มากไปกว่าการฟ้องร้องและคำตัดสิน เราต้องไม่ลืมว่าเรากำลังพูดถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ผมคบด้วยตั้งแต่อายุ 16 ปีจนถึง 34 ปี ตอนที่ผมแต่งงานกับเธอ ผมยังเป็นคนรักเพศตรงข้ามธรรมดา ผมอยากพูดเรื่องนี้ให้ชัดเจน หลังจากที่ผมหย่ากับเธอ ทำให้ผมสงสัยในตัวตนทางเพศของตัวเอง หลังจากปรึกษากับนักบำบัดที่ช่วยให้ผมค้นผมว่าที่จริงแล้วตัวผมเองเป็นไบเซ็กชวล และผมได้บอกกับอดีตภรรยาในปี 2016”

Javier Vilalta ที่ถูกฟ้องเพราะเป็นไบเซ็กชวล (ภาพของ Eva Máñez)

อดีตภรรยาของ Vilalta ได้รับการบอกจากเพื่อนของเธอว่าจริงๆแล้วเขาน่าจะเป็นไบเซ็กชวลมาตั้งแต่แรก ซึ่งทำให้เกิดการฟ้องร้องตามมา เธออ้างว่าเธอคงไม่ยอมแต่งงานกับเขาตั้งแต่แรกหากรู้เรื่องนี้ และขอให้เขาจ่ายเงินจำนวน 10,000 ยูโร (ประมาณ 350,000 บาท) เพื่อเยียวยา “ผลเสียทางการเงินและศีลธรรม”

ปัญหาอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นเพราะการตัดสินของศาลแบบนี้ที่ Vilalta ก็เห็นด้วยคือการที่คนอีกมากจะกลัวการเปิดเผยตัวตนหากพวกเขาเคยมีความสัมพันธ์แบบรักต่างเพศในอดีต

แต่ Vilalta พูดถูกว่า ไม่มีใครต้องเปิดเผยตัวตนของตัวเองต่อใครก็ตาม รวมถึงอดีตคนรัก และการต้องเปิดเผยตัวตนถูกบังคับด้วยกฎหมายเป็นเรื่องไร้สาระสิ้นดี และนอกจากนั้น ตัวตนทางเพศของหลายๆคน — โดยเฉพาะคนที่เป็นเพศทางเลือก — เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยใช้เวลานาน เหมือนกับกรณีคดีที่ผมเจอ

แต่อย่างน้อยเรายังไม่ต้องเสียใจไป เพราะการตัดสินของคดีของ Vilalta ยังคงไม่สิ้นสุด เพราะเขาได้ตัดสินใจยื่นคำร้องเพื่อค้านคำตัดสิน โดยเขาบอกว่าเขาต้องทำเพื่อ “ไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับใครได้อีก”

คุณมีความเห็นยังไงบ้างเกี่ยวกับการตัดสินของศาลในครั้งนี้ สงสัยมั๊ยว่าทำไมยังมีปัญหาแบบนี้ในปี 2020 ได้อยู่อีก

ภาพจาก Getty Images

Quantcast