วงดนตรีสัญชาติเลบานอน Mashrou’ Leila และเกย์นักร้องนำกับการต่อสู้กับการเหยียดเพศทางเลือกในตะวันออกกลาง
This post is also available in: English
สุขสันต์วันเกิดครบรอบ 10 ปีให้กับ Mashrou’ Leila วงดนตรีที่ฉีกกฎที่สุดในโลกวงหนึ่ง — พร้อมกับขอบคุณเกย์นักร้องนำของวงอย่าง Hamed Sinno
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2008 ที่วง Mashrou’ Leila ถูกตั้งขึ้น เป็นเวลาที่ Haig Papazian และ Andre Chedid และ Omaya Malaeb ได้เริ่มมองหาเพื่อนๆเพื่อสร้างวงดนตรีของตัวเองที่มหาวิทยาลัย American University of Beirut ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในขณะนั้นที่เบรุตเองก็เป็นสถานที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาก และพวกเขาต้องการแค่พื้นที่ในการเล่นดนตรีและผ่อนคลายเท่านั้น ชื่อวงดนตรีของพวกเขาแปลได้ว่า”โปรเจกต์ข้ามคืน” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสมาชิกในวงคาดหวังว่าวงจะไม่ได้มีตัวตนอยู่นาน
หลังจากนั้น Hamed Sinno ก็ได้เข้าร่วมวงในฐานะนักร้อง และยังมี Carl Gerges และ Firas Abou Fakher และ Ibrahim Badr ที่ช่วยเล่นดนตรีในมหาวิทยาลัยและทำให้วงได้รับความสนใจมากขึ้น ไม่กี่เดือนหลังจากนั้นพวกเขาก็เริ่มเล่นให้กับงานที่ใหญ่ขึ้นอย่าง Fête de la Musique โดยเนื้อเพลงของพวกเขาส่วนใหญ่นั้นแรงและไม่เกรงกลัวคำตัดสินของนักวิจารณ์ชาวเลบานอน
ภายในหนึ่งปี Mashrou’ Leila ก็ได้รับรางวัลมากมาย — ซึ่งหลักๆก็มาจากเพลง “Raksit Leila” ของพวกเขา
“ฉันจะไม่ทำตามคำสั่งของใคร” คือท่อนหนึ่งของเนื้อเพลงของพวกเขา “จะเป็นเจ้าชาย ราชา หรือนโยบายอะไรก็ตาม ไม่ได้ผลหรอก”
ความต้องการในตัววงเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2009 และพวกเขาก็ได้รับข้อเสนอในการทำงานร่วมกับ B-root Productions ปาร์ตี้เปิดตัวอัลบั้มของ Mashrou’ Leila มีผู้ให้ความสนใจมหาศาล และไม่นานนักพวกเขาก็กลายเป็นวงดนตรีในงานระดับสูงอย่าง Byblos International Festival
แม้ว่าจะได้รับชื่อเสียงมากมาย แต่ Sinno ก็ยังยืนหยัดในฐานะนักแสดงดนตรีที่เป็นเกย์อย่างเปิดเผยในวัฒนธรรมเลบานอน โดยเขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Freddie Mercury และขอยืนยันไม่กลับไปในโลกแห่งการปิดบังอีกต่อไป หากพูดถึงเรื่องการออกเดท การเมือง และการทำหน้าที่ของเพศทางเลือก Sinno กลายเป็นตัวอย่างต้นแบบให้กับเพศทางเลือกชาวอาหรับ และแม้ว่าจะมีมาตรการลงโทษเพศทางเลือกทางกฎหมายในตะวันออกกลาง ความนิยมของวงและนักร้องนำก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนถึงความต้องการในด้านการบันเทิงของ LGBTQ
แต่นั่นก็หมายความว่า Mashrou’ Leila จะต้องเจอกับปัญหาในการเข้าถึง อย่างเช่นถูกแบนไม่ให้เล่นดนตรีที่จอร์แดนถึงสองครั้ง และยังมีเหตุการณ์การไล่ล่าประชากรเพศทางเลือกหลังจากธงสีรุ้งปรากฎอยู่ในงานคอนเสิร์ตที่อียิปต์ โดยหนึ่งในผู้เข้าร่วมงานในวันนั้นถูกตัดสินจำคุกนานหกปีด้วยหลายสาเหตุ
ทางวงยังคงไม่หวั่นไหวต่อการต่อต้านที่พวกเขาต้องเผชิญและพูดถึงปัญหากฎระเบียบทางสังคมและการเมืองอย่างชัดเจน นอกจากเรื่องทางเพศแล้ว เพลงของพวกเขายังพูดถึงความเท่าเทียมของสตรี ความบ้าคลั่ง และความรุนแรงทางศาสนา — ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่เด็กและวัยรุ่นชาวเลบานอนต้องเผชิญ เพลงรักอย่าง “Shim el Yasmine” พูดถึงตัวตนทางเพศที่มาพร้อมกับการหักมุม และเพลง “Fasateen” ก็ได้พูดถึงทัศนคติต่อการแต่งงานอีกด้วย
ด้วยจำนวนแฟนๆที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ Mashrou’ Leila เริ่มเขียนเพลงเป็นภาษาอังกฤษโดยหวังว่าจะได้ยกระดับการต่อสู้กับกฎหมายต่อต้าน LGBTQ — ซึ่งรวมถึงในสหรัฐอเมริกา — และเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังที่อาจต้องการความช่วยเหลือและชุมชนที่มีความคิดเหมือนๆกัน ความนิยมในดนตรีของพวกเขา แม้กระทั่งในกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาเดียวกันชี้ให้เห็นชัดว่า Mashrou’ Leila ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกใบนี้