อนุสรณ์โรคเอดส์บน Instagram กับเรื่องราวที่ไม่ควรถูกลืม
ผมเจอเพจ AIDS Memorial บนอิสตาแกรมโดยบังเอิญ ซึ่งผมได้เห็นภาพชายสองคนระหว่างที่กำลังเลื่อนดูภาพและได้อ่านเรื่องราวของทั้งสองคน ระหว่างนั้นผมกำลังยืนเข้าแถวรอจ่ายเงินที่ร้านสะดวกซื้อ แต่ผมถึงกับต้องเดินออกจากแถวไปเข้าห้องน้ำ เพราะผมไม่สามารถหยุดน้ำตาที่ไหลออกมาได้
ผมอาจจะค่อนข้างอ่อนไหวกับเรื่องราวพวกนี้เป็นพิเศษ แต่ทุกๆครั้งที่ผมอ่านเรื่องของใครสักคนจากเพจ AIDS Memorial บนอินสตาแกรม ทั้งเรื่องราวความรัก มิตรภาพ การสูญเสีย และผู้คนที่ยังคงอยู่ ผมจะต้องเสียน้ำตาให้กับเรื่องราวเหล่านั้นเสมอ
แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผมอ่านเรื่องราวเหล่านั้นก็คือความรู้สึกเต็มไปด้วยความหวัง ทั้งความหวังในรัก มิตรภาพ ครอบครัว และความโชคดีที่เราได้อยู่ในโลกนี้และได้แบ่งปันประสบการณ์ต่างๆในชีวิตด้วยกัน
และผมก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Stuart ผู้ก่อตั้ง The AIDS Memorial
บอกเราได้ไหมว่าทำไมคุณถึงเริ่มทำเพจ The AIDS Memorial
เรามักจะได้ยินตัวเลขสถิติอยู่เสมอ แต่ผู้คนที่อยู่เบื้องหลังตัวเลขเหล่านั้นมักจะถูกลืมไป ผมหวังว่า The AIDS Memorial จะเป็นอนุสรณ์ที่คอยย้ำเตือนถึงการมีอยู่ของพวกเขา ว่าพวกเขาเคยมีตัวตน มีความสำคัญ และจะยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่เสมอ
ทำไมคุณถึงคิดว่า The AIDS Memorial ถึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อสังคมมีความเข้าใจและเปิดรับประเด็นของ LGBTQ มากกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนมาก
ผมค่อนข้างจะแปลกใจที่ The AIDS Memorial ได้รับความเห็นด้วยมากขนาดนี้ แต่สำหรับใครบางคน นี่คือสถานที่ที่พวกเขาจะสามารถแบ่งปันเรื่องราวในชีวิตหลังจากความเงียบและความอับอายนานหลายปี และความรู้สึกที่ได้แบ่งปันให้กับคนที่มีประสบการณ์คล้ายๆกับเป็นเรื่องที่ปลดปล่อย ด้วยแผลในจิตใจที่ไม่เจ็บปวดเท่าเมื่อก่อนก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ใครหลายๆคนออกมาเปิดเผยเรื่องราวของตัวเอง รวมถึงความต้องการของสังคมที่จะเข้าใจโรคเอดส์ให้มากขึ้น
ผมคิดว่าอันตรายอย่างหนึ่งที่มากับอิสรภาพและการยอมรับก็คือความพอใจ และด้วยการลืมนั้นเองอาจทำให้เกิดการซ้ำรอยของประวัติศาสตร์ได้ ความท้าทายที่เราต้องเจอคือการใช้ชีวิตในปัจจุบันโดยไม่ลืมความสำคัญของอดีต และนั่นคือจุดแข็งของเพจ The AIDS Memorial
ประวัติศาสตร์กำลังซ้ำรอยในหลายๆแห่ง เช่นค่ายกักกันในเชชเนียที่เกย์ถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนัก แต่นานาชาติกลับไม่สามารถทำอะไรได้มากกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเหยียดเชื้อชาติที่ยังคงพบเห็นได้ทั่วไป ทั้งๆที่เรามีมาร์ติน ลูเธอร์ คิงและเหตุการณ์พรรคนาซีในเยอรมันให้เป็นบทเรียน เห็นได้ชัดว่าการจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ยังไม่ดีพอ
——–
อย่างหนึ่งที่ผมรู้อย่างแน่นอนคือเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ด้วยก้าวเล็กๆ ด้วยการเปิดใจถึงเรื่อวความเป็นเพศทางเลือก การมีเชื้อ HIV และการไม่ยอมรับต่อสังคมที่ทำให้เราต้องอับอายในเรื่องที่เราไม่สมควรต้องรู้สึกผิด
และนี่คือสิ่งที่ผมเชื่อว่าเป็นพลังของ The AIDS Memorial คือการย้ำเตือนตัวเราว่าหากเราร่วมมือกันบอกเล่าเรื่องราวของเราโดยไม่ยอมเป็นเครื่องมือของใคร เราทุกคนจะแข็งแกร่งขึ้นไปด้วยกัน
ติดตาม The AIDS Memorial บนอินสตาแกรมได้ที่นี่
ภาพถ่าย: Juan Dubose แฟนหนุ่มของศิลปิน Keith Haring และเป็นดีเจในนิวยอร์ค โดยเขาเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ในปี 1989 หนึ่งปีก่อนที่ Haring จะเสียชีวิต อ่านเรื่องราวของเขาได้ที่นี่
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2020 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม