นี่คือสิ่งที่ทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในไต้หวันยังคงไม่เป็นความจริง

นี่คือสิ่งที่ทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในไต้หวันยังคงไม่เป็นความจริง

Be first to like this.

This post is also available in: English

LGBTQ ทั่วโลกได้มีความสุขร่วมกันในวันที่ 24 พฤษภาคม  2017 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไต้หวันได้ทำการตัดสินคำนิยามการแต่งงานที่ถูกต้องว่าไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ (คำนิยามตามบทกฎหมายของประเทศเกาะแห่งนี้) และหลายคนยังรู้สึกตื่นเต้นที่ศาลชั้นสูงของประเทศได้ทำการสั่งให้ผู้บัญญัติกฎหมายทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันเป็นความจริงในไต้หวันภายใน 2 ปี

แต่หนึ่งปีครึ่งให้หลังการตัดสินครั้งสำคัญของศาสรัฐธรรมนูญของไต้หวัน การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันยังไม่เข้าใกล้ความเป็นจริงไปมากกว่าตอนท้ายปี 2017 แม้แต่นิดเดียว เกิดอะไรขึ้นกันแน่ ทำไมจึงยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น และทำไมชาวไต้วันกำลังจะมีการโหวตประชามติด้านการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน

จากข้อมูลของ Yu Mei-Nu แห่งพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า การเดินทางของประเทศไต้หวันเข้าสู่การแต่งงานอย่างเท่าเทียมเกิดความล่าช้าด้วยหลายสาเหตุ และมีบางอย่างที่ขัดขวางไม่ให้ชาวไต้หวันสามารถแต่งงานกันได้อย่างเป็นอิสระ

และนี่คือ 4 สาเหตุที่ทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในไต้หวันยังไม่เป็นความจริง:

1. กลุ่มศาสนาที่ต่อต้านเพศทางเลือกเป็นกลุ่มเล็กๆที่มีอำนาจมาก

ในปี 2015 เมื่อฎีกา 3 ฉบับที่สนับสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในไต้หวันถูกเสนอ กลุ่มองค์กรทางศาสนาและทั้งกลุ่มบุคคลได้ทำการออกมาประท้วงสิ่งที่เกิดขึ้น และพวกเขาก็ได้ทำการเคลื่อนไหวต่อต้านสิทธิของ LGBTQ ตั้งแต่นั้นมา

“แม้ว่ากลุ่มดังกล่าวจะเป็นจำนวนน้อยกว่า 10% ของจำนวนประชากร แต่พวกเขามีปากเสียงและสามารถโน้มน้าวผู้คนจำนวนมากได้” Yu Mei-Nu กล่าว “พวกเขาทำให้เกิดความหวาดกลัวและเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในหมู่ประชาชนผู้สูงอายุ”

Yu Mei-Nu เชื่อว่าฏีกาสนับสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันถูกร่างขึ้นหลังจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย แต่ได้รับการต่อต้านโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มทางศาสนา เธอได้พูดถึงกลุ่มทางไต้ของเกาะเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นบริเวณที่สมาชิกสภานิติบัญญัติรู้ว่าพวกเขาอาจะเสียคะแนนโหวตจากประชาชนหากพวกเขาทำการสนันสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน

2. การถกเถียงในประเด็นการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันได้กลายเป็นการถกคำถามที่ว่ากฎหมายของประเทศควรจะเป็นไปในรูปแบบไหนกันแน่

แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าการห้ามการแต่งงานอย่างเป็นอิสระจะขัดต่อคุณค่าของประเทศและยืนยันให้กลุ่มนิติบัญญัติสนับสนุนการตัดสินดังกล่าว แต่ทางเลือกในการทำเช่นนั้นเป็นไปได้หลายวิธี

วิธีแรกก็คือการเปลี่ยนคำนิยามของการแต่งงาน กลุ่มอนุรักษ์นิยมจำนวนมากสนับสนุนทางเลือกนี้ โดยพวกเขาต้องการให้มีการนิยามการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันเป็นอย่างอื่นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีการชี้ชัดอย่างเจาะจงถึงวิธีการเดินหน้าต่อไป

ส่วนฏีกาเรื่องการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน Yu Mei-Nu ได้พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า”ติดอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรอง มันไม่สามารถขยับไปไหนได้ แม้แต่กระทั่งภายใน DPP ที่มีสมาชิกจำนวนมากที่ไม่ได้ต่อต้านการแต่งงานอย่างเท่าเทียม แต่พวกเขาต้องเผชิญกับการต่อต้านจากเขตที่พวกเขาดูแลอยู่”

3. Tsai และ DPP มีการดำเนินการไปอย่างเชื่องช้า และนั่นเปิดโอกาสให้เกิดประชามติขึ้น

ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน ที่ถูกเลือกในปี 2016 ได้ทำการปล่อยแคมเปญสนับสนุนการแต่งงานของเพศทางเลือกในไต้หวัน และในเดือนพฤษภาคมที่แล้ว เธอได้ตอบกลับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่า “กฎหมายของประเทศจะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแต่งงานและความเท่าเทียมกัน” นอกจากนั้นเธอยังได้บอกให้หน่วยงานของรัฐให้เร่งดำเนินการร่างกฎหมายใหม่อีกด้วย

กระทั่งในเดือนมิถุนายนนี้มีรายงานว่าไช่นั้นไม่ได้”มุ่งมั่นอย่างแท้จริง”ในประเด็นความเท่าเทียมในการแต่งงาน และยังมีประชาชนจำนวนมากที่เชื่อว่าสมาชิกในการดูแลของเธอมัวแต่ไม่ทำอะไรและไม่ได้พยายามที่จะทำตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ต้องการผลลัพธ์ใน 2 ปี (ซึ่งจะทำให้การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในไต้หวันควรจะ’เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย’)

ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้จัดการของ Hornet ในไต้หวันได้ทำการเขียนจดหมายเปิดให้กับไช่ โดยขอร้องให้เธอ”รักษาคำสัญญาเรื่องความเท่าเทียมในการแต่งงานที่เธอให้ไว้”

แต่สุดท้ายความล่าช้าก็ได้ทำให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมและนักเคลื่อนไหวเพศทางเลือกทำให้เกิดการลงคะแนนเสียงประชามติในวันที่ 24 พฤษจิกายน 2018 นี้

นักเคลื่อนไหวเพศทางเลือกได้มีการเรียกร้องให้ปรับปรุงแก้ไขและอนุมัติการแต่งงานของเพศทางเลือก และยังมีอีกคำร้องให้มีการสอนเรื่องเพศศึกษาระหว่างเพศเดียวกันในโรงเรียน ส่วนประชามติของกลุ่มอนุรักษ์นิยมบอกว่า”การสมรส”นั้นเป็นเรื่องเฉพาะระหว่างชายและหญิงเท่านั้น และกลุ่มรักร่วมเพศจะสามารถทำได้เพียงแค่การ”รับรองการครองคู่ร่วมกัน”เท่านั้น

4. มีอีกหลายอย่างที่ต้องลงมือเพื่อเปลี่ยนความคิดของชาวไต้หวัน

จากคำพูดของ Yu Mei-Nu “เราได้ก้าวผ่านประตูแห่งกฎหมายและเหตุผลมาแล้ว สิ่งที่สำคัญในตอนนี้ก็คือการค่อยๆเปลี่ยนความคิดของประชาชน” เธอเชื่อว่าการเคลื่อนไหวในระดับรากหญ้าผ่านการพูดคุยอย่างจริงใจน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในการก้าวไปข้างหน้า

“หลายๆคนอาจมีอคติอยู่บ้าง แต่พวกเขามักจะเปิดใจที่จะเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากมีการพูดคุยกัน บ่อยครั้งที่พวกเขาถูกชี้นำอย่างไม่ถูกต้อง และเราต้องทำให้พวกเขาเข้าใจว่าการมีบุตรหลานที่เป็นเพศทางเลือกนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอย่างที่พวกเขาคิด” เธอกล่าว

คุณล่ะคิดว่าการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันในไต้หวันจะเป็นความจริงเมื่อไหร่?

ภาพจาก Sam Yeh / AFP / Getty Images

Quantcast