วิทยาศาสตร์บอกอะไรได้บ้างเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมการรักร่วมเพศ

วิทยาศาสตร์บอกอะไรได้บ้างเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมการรักร่วมเพศ

Be first to like this.

This post is also available in: English Español Русский Українська

เมื่อ 50 ปีก่อน นิตยสาร Science ได้เผยแพร่รายงานการพยายามที่จะหาคำตอบว่าอะไรคือสาเหตุของพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นครั้งแรก

นักวิจัยจำนวนมากสงสัยว่าจริงๆแล้วสารเคมีที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นจากความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์อาจเป็นเหตุ แต่ดูเหมือนว่าในความเป็นจริง คำตอบที่แท้จริงอาจมีความซับซ้อนมากกว่านั้น

“ความเครียดของแม่เพิ่มความเป็นหญิงและลดพฤติกรรมที่เป็นชาย” เป็นพาดหัวในปี 1972 โดยงานวิจัยที่ทำกับหนูทดลองพบว่า “ความเครียดในช่วงก่อนคลอดแสดงให้เห็นถึงการแสดงออกที่เป็นชายที่ลดลง และมีการตอบสนองแบบเพศหญิงที่มากขึ้น โดยพบว่าความเครียดทำให้การพัฒนาแอนโดรเจนต่อมหมวกใตลดลง และส่งผลให้เกิดการพัฒนาและสร้างเทสโทสเตอโรนที่ลดลงด้วย”

แต่การวิจัยค้นคว้าได้มีการพัฒนาไปมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา และมีการค้นพบข้อมูลใหม่ๆที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมคนๆหนึ่งถึงมีความรู้สึกดึงดูดต่อเพศเดียวกัน — แต่ในขณะเดียวกันก็มีการให้ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่นในกรณี โบสถ์ลัทธิมอร์มอนในปี 2017 ที่บอกว่าการช่วยตัวเองทำให้เกิดพฤติกรรมการรักร่วมเพศ ซึ่งไม่เป็นความจริง

แต่อย่างหนึ่งที่ชัดเจน คือเราสามารถบอกได้ว่าการมีพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ใช่อาการผิดปกติ ไม่ใช่การเป็นโรค และไม่ใช่อะไรที่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ และยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติอีกด้วย แม้ว่าการพูดถึงการรักร่วมเพศยังคงเป็นเรื่องที่ถูกเลี่ยงในหลายๆชุมชนทั่วโลก

เราเองยังไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรคือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการรักร่วมเพศ แต่มีการค้นพบว่าลำดับในการเกิดนั่นมีผล โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกมากขึ้น ลูกคนที่เกิดทีหลังมีโอกาสที่จะรู้สึกดึงดูดต่อเพศชายมากขึ้นเมื่อพวกเขาโตขึ้น

งานวิจัยเพื่อทำความเข้าใจการรักร่วมเพศยังคงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2017 นักวิจัยได้ค้นพบยีนที่ต่างไปจากปกติที่พบได้มากกว่าในผู้ชายที่เป็นเกย์ โดยยีนหนึ่งมีความเกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ ซึ่งเกย์จะมีการทำงานของต่อมที่มากกว่าปกติ และอีกยีนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับส่วนไฮโปทาลามัสของสมอง (ซึ่งพบว่าทำให้เกิดพฤติกรรมที่แตกต่างในผู้ชายที่เป็นเกย์และผู้ชายธรรมดา)

โดยพบว่าการค้บพบเหล่านี้มีความสอดคล้องกับงานวิจัยอื่นๆในอดีต ซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงที่ยังอยู่ในครรภ์ของแม่ แต่เราก็ยังคงไม่รู้ถึงที่มาที่แท้จริงของสาเหตุที่ยีนเหล่านั้นมีความแตกต่างจากคนอื่นๆ

เราพอจะมีเบาะแสอยู่บ้าง โดยบทความชิ้นหนึ่งในปี 2015 บทนิตยสาร Science ชี้ว่าอีพีเจเนติกส์อาจเป็นคำตอบที่เรากำลังตามหา ซึ่งอีพีเจเนติกส์คือการเปลี่ยนแปลงของจีโนมที่เปลี่ยนพฤติกรรมของยีนโดยยังคงตำแหน่งของยีนไว้ดังเดิม และหากว่านั่นเป็นข้อเท็จจริง ก็จะหมายความว่าการเกิดพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นพ่อแม่ที่ส่งผ่านสารเคมีบางอย่าง ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาสมองส่วนของเพศก่อนที่ร่างกายจะพัฒนาอวัยวะเหล่านั้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆช่วงของการเติบโตอยู่ในครรภ์

และจะยากไปกว่านั้นหากจะทำความเข้าใจว่า ทำไมเราถึงต้องมีการวิวัฒนาการให้มีการแสดงออกถึงพฤติกรรมการรักร่วมเพศ​ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นพฤติกรรมที่พบได้ในสัตว์ชนิดอื่นๆด้วย ซึ่งพฤติกรรมการรักร่วมเพศถูกพบเห็นในสปีชีส์อื่นๆอีกมากมาย โดยสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะการช่วยลดจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นจนเกินไป หรืออาจเป็นการช่วยพัฒนาการสืบพันธุ์ให้กับสมาชิกในสังคมตัวอื่นๆก็เป็นไปได้

ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประโยชน์ของการวิวัฒนาการเหล่านี้ยังคงเป็นคำถามให้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหากันต่อไป แต่อย่างน้อยที่เรารู้ คือการเป็นเกย์นั้นเป็นเรื่องยอดเยี่ยมจริงๆ

คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ คิดว่าวันหนึ่งเราจะสามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการรักร่วมเพศได้หรือเปล่า

ภาพของ PeopleImages จาก iStock

บทความนี้เขียนครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2017 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม

Quantcast