แม้ว่าไต้หวันจะกำลังเข้าใกล้ความเท่าเทียมในการแต่งงานมากขึ้น แต่เสรีภาพของเพศทางเลือกในเอเชียยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมาก
This post is also available in: English
ประเทศไต้หวันอาจจะเข้าใกล้การเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ยอมรับเสรีภาพในการแต่งงานของเพศทางเลือกแม้ว่าจะมีการลงคะแนนเสียงประชามติเมื่อเดือนพฤษจิกายนที่ผ่านมาที่หลายคนมองว่าอาจทำให้การก้าวหน้าต้องหยุดชะงัก ในทวีปที่มีการปฏิบัติต่อเพศทางเลือกที่แตกต่างกัน โดยมีหลายประเทศที่อันตรายสำหรับกลุ่มเพศทางเลือก และก็มีอีกหลายประเทศที่ยอมรับในความเท่าเทียม แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าไต้หวันเป็นประเทศที่สำคัญประเทศหนึ่งในเรื่องนี้
สถานการณ์ในประเทศไต้หวันในขณะนี้ยังคงอ่อนไหวมาก โดยในเดือนพฤษภาคม 2017 ศาลขั้นสูงได้ตัดสินให้ประเทศทำการอนุมัติความเท่าเทียมในการแต่งงานและได้ให้เวลากับสภานิติบัญญัติสองปีในการทำให้เป็นความจริง
นั่นอาจจะฟังดูเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมาและไม่ยากเย็นนัก แต่กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านเกย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ ได้ทำการระดมทุนให้เกิดการลงคะแนนเสียงประชามติโดยหวังว่าจะหยุดยั้งเพศทางเลือกจากการแต่งงานได้ และแม้ว่าผลการลงคะแนนของเสียงส่วนใหญ่จะไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันว่าการลงคะแนนเสียงประชามติไม่สามารถใช้บังคับให้เกิดผลและประเทศไต้หวันยังคงต้องปฏิบัติตามการตัดสินของศาลขั้นสูง โดยสภานิติบัญญัติได้ให้คำสัญญาว่ากฎหมายสนับสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันจะเสร็จเรียบร้อยภายในปี 2019
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียก่อนหน้าไต้หวันที่จะยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน โดยรัฐบาลไทยกำลังพิจารณาการผ่านฎีกาที่จะทำให้คู่รักเพศทางเลือกมีสิทธิเท่าเทียมกับคู่สมรสทั่วไป ทั้งเรื่องการใช้นามสกุลและสิทธิในทรัพย์สินร่วมกัน และการครองคู่อย่างถูกกฎหมายอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดภายในปีนี้
แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังต้องการการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย อย่างเช่นที่ประเทศจีน การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายและยังไม่มีข้อบังคับใดๆที่ช่วยปกป้องสิทธิของประชาชนกลุ่ม LGBTQ กับการแบ่งแยก ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีข้อเสนอการยอมรับการครองคู่ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีการบังคับใช้ในทุกเมืองและยังมีข้อจำกัดอีกมาก แต่ก็ได้มีการฟ้องร้องจำนวนหนึ่งต่อข้อจำกัดดังกล่าวในช่วงเดือนที่ผ่านมา
สถานการณ์เรื่องเพศทางเลือกถือว่าย่ำแย่ทางตอนใต้ของเอเชีย ซึ่งการเป็นเพศทางเลือกมักถูกลงโทษทางกฎหมาย โดยที่บังคลาเทศมีการลงโทษเกย์เพศชายโดยการจำคุกตลอดชีวิต และยังไม่มีการปกป้องกลุ่มคนข้ามเพศ กลุ่มนอนไบนารี่ และกลุ่มเพศทางเลือกอื่นๆอีกด้วย
ภูฏานก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการลงโทษกลุ่มรักร่วมเพศ รวมถึงมัลดีฟส์และปากีสถาน แต่แม้ว่าการบังคับใช้จะไม่มาก การมีอยู่ของข้อบังคับก็เป็นอุปสรรคต่อการเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มเพศทางเลือกในที่สาธารณะ และทำให้หลายๆคนตกเป็นเหยื่อการแบล๊คเมลล์
ประเทศอินเดียก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการแบนการรักร่วมเพศจนกระทั่งมีการตัดสินจากศาลในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา ซึ่งหยุดยั้งการเหยียดเพศทางเลือกถึงราวๆหนึ่งในห้าของโลก
ข้อบังคับที่คล้ายๆกันมีอยู่ทั่วเอเชียตะวันออก แต่ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันผสมกันอยู่ โดยการลงโทษและการปกป้องกลุ่มเพศทางเลือกก็มีความแตกต่างกันไปตามประเทศ ที่กัมพูชาและเวียดนามมีกฎหมายอย่างคร่าวๆเกี่ยวกับความเท่าเทียมในการแต่งงาน โดยไม่มีการห้ามการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันอย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีการปกป้องสิทธิเช่นกัน แต่การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ซึ่งในประเทศเหล่านี้มีการลงโทษการรักร่วมเพศด้วยกฎหมาย
กลุ่มประชาชนเพศทางเลือกยังคงต้องเผชิญกับกฎหมายที่ซับซ้อนในหมู่เกาะแปซิฟิก โดยการรักร่วมเพศเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในปาปัวนิวกีนี ตองกา และตูวาลู แต่ที่ประเทศปาเลา นอกจากการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายแล้วยังไม่มีกฎหมายที่ปกป้องกลุ่มเพศทางเลือกอีกด้วย ซึ่งประเทศที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ได้แก่ฟิจิและซามัว
เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าในประเทศที่ยังมีการลงโทษประชาชนเพราะเป็นเกย์ยังคงมีสิ่งที่ต้องเผชิญอีกมากกว่าเราจะได้เห็นความเท่าเทียมในการแต่งงาน โดยในหลายๆประเทศเหล่านั้น การลงโทษเพศทางเลือกเป็นผลมาจากการยึดครองประเทศของอังกฤษในอดีต และแม้ว่าการบุกรุกของทางตะวันตกจะจบลงไปแล้ว แต่ผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรมยังคงอยู่หลายสิบปีให้หลัง