มาทำความรู้จักกับป๊อปเปอร์ ยาเคลิ้มแห่งชุมชนเกย์
เกย์และไบหลายคนใช้ยาป๊อปเปอร์ในการร่วมเพศ ซึ่งยาดมที่มีส่วนผสมหลักคือไนเตรทนี้จะทำให้เกิดอาการเคลิ้มและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักและลำคอ ช่วยให้การร่วมเพศทางประตูหลังและการใช้ปากเป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งนักเขียนชื่อ C. Brian Smith กล่าวว่าประวัติของยาป๊อปเปอร์นั้นยาวนานและน่าสนใจ ฉะนั้นเราลองมาดูบางส่วนของประวัติยานี้กัน
จากการกล่าวของ Smith นายแพทย์ชาวสก๊อตแลนด์นาม Sir Thomas Lauder Brunton เริ่มใช้สารเอมิล ไนไตรท์ (Amil Nitrate) ในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากอาการหัวใจขาดเลือด ซึ่งเอมิล ไนไตรท์ จะช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่ายขึ้น ลดอาการเจ็บปวด และทำให้เกิดความรู้สึกอุ่นๆทั่วร่างกาย
Smith เสริมว่ายาป๊อปเปอร์นั้นเคยถูกขายในลักษณะหลอดแก้วหุ้มตาข่ายซึ่งเวลาที่ถูกบดจะเกิดเสียงดังป๊อป ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ“ป๊อปเปอร์” ตาข่ายจะช่วยให้ส่วนแก้วที่แตกไม่บาดมือหรือส่วนต่างๆของร่างกายในระหว่างการบดตัวยาและสูดดม
จากข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ Dr. Lucy Robinson ป๊อปเปอร์เริ่มปรากฏตัวในสถานที่ของเกย์หลายๆแห่ง เช่นดิสโก้เทค ไนท์คลับ และร้านเหล้าในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งอาการเคลิ้มนั้นจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกล่องลอย มีความสุข และมีอิสระ และเป็นผลที่มีระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น นอกจากนั้นตัวยายังมีราคาถูก พกพาสะดวก และใช้งานง่าย
บทความที่เกี่ยวข้อง | ใครจะไปรู้ว่าจะมีวีดีโอสอนใช้ยาป๊อปเปอร์ด้วย
ยาป๊อปเปอร์นั้นเคยถูกขายในประเทศสหรัฐอเมริกาตามเค้าเตอร์ขายยาทั่วประเทศจนกระทั่งคณะกรรมการอาหารและยาได้บังคับใช้ใบสั่งจ่ายยาของแพทย์เพื่อจำหน่าย ในปี 1988 คณะกรรมการความปลอดภัยสินค้าอุปโภคบริโภคได้ห้ามการจำหน่ายยาป๊อปเปอร์บางชนิด และผู้ผลิตยาก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสูตรยาเพื่อหลีกเลี่ยงการต้องห้ามนั้น
“เพื่อหลีกเลี่ยงกฏหมายต่อต้านยา” Smith เสริม “ป๊อปเปอร์ใช้การตราว่าเป็นสารปรับกลิ่นในห้อง น้ำยาล้างเล็บ หรือน้ำยาล้างหัวอ่านแผ่นฟิล์ม” ซึ่งคุณสามารถพบเห็นได้ตามร้านเซ็กส์ช๊อปหรือโรงอาบน้ำได้ในปัจจุบัน
บทความที่เกี่ยวข้อง | แบรนด์ยาป๊อปเปอร์สปล่อยโฆษณาสไตล์วินเทจสุดขำ
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาป๊อปเปอร์นั้นก็มีความเสี่ยงต่อร่างกายเช่นกัน แม้ว่าจะมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในช่วงแรกของการระบาดของเชื้อ HIV การวิจัยพบว่าตัวยาป๊อปเปอร์นั้นมีผลทำให้ความดันเลือดลดลงอย่างมาก ทำให้สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง เกิดอาการหายใจสั้นและถี่ ตามัว เกิดอาการมึนงง และหมดสติ
แม้ว่าเรื่องราวของยาชนิดนี้จะไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่การสำรวจเมื่อไม่นานมานี้พบว่าราว 1 ใน 3 ของเกย์และไบมีการใช้ยานี้และการใช้ในกลุ่มคนทั่วไปยังมีอัตราที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
คุณรู้เรื่องราวของยาป๊อปเปอร์สกันมาก่อนหรือเปล่า
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2018