ไต้หวันสร้างประวัติศาสตร์หลังยื่นฏีกาการสมรสระหว่างเพศเดียวกันเข้าสู่สภา แต่หลายคนยังคงกังวลว่าไม่เพียงพอ

ไต้หวันสร้างประวัติศาสตร์หลังยื่นฏีกาการสมรสระหว่างเพศเดียวกันเข้าสู่สภา แต่หลายคนยังคงกังวลว่าไม่เพียงพอ

Be first to like this.

This post is also available in: English

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เราได้เห็นไต้หวันสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเสนอฏีกาสมรสระหว่างเพศเดียวกันเข้าสู่รัฐสภาหลังจากหลายครั้งที่เราได้เห็นสิทธิมนุษยชนของ LGBTQ เข้าใกล้ความเป็นจริงและกลายเป็นเพียงแค่ความฝัน และครั้งนี้ชุมชน LGBTQ ของไต้หวันกำลังมีความสุขเมื่อสิทธิของพวกเขากำลังจะเป็นรูปเป็นร่าง แต่นักกฎหมายหลายคนและกลุ่มนักเคลื่อนไหวยังคงเชื่อว่าฏีกาดังกล่าวอาจจะยังไม่เพียงพอ

ฏีกาการสมรสระหว่างเพศเดียวกันในครั้งนี้ถูกร่างขึ้นหลังจากการตัดสินของศาลสูงสุดแห่งไต้หวันเมื่อเดือนพฤษภาคมในปี 2017 โดยศาลตัดสินว่ากฎหมายของไต้หวันยังไม่สนับสนุนความเท่าเทียมในการสมรสและได้ทำการบังคับให้รัฐสภาทำการอนุมัติกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมในการแต่งงานภายในระยะเวลาสองปี

ภาพจาก AFP Photo ของ Sam Yeh

และเส้นตายกำลังเข้าใกล้ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคือวันที่ 24 พฤษภาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ประเทศไต้หวันได้พบเจอกับสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นอุปกสรรคในเดือนพฤษจิกายน 2018 เมื่อมีการเปิดลงคะแนนเสียงประชามติและประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไต้หวันไม่เห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนกฎหมายของประเทศ

การลงคะแนนเสียงครั้งนั้นไม่สามารถใช้เพื่อแย้งการตัดสินของศาลสูงสุดได้ หมายความว่าความเท่าเทียมในการแต่งงานในไต้หวันจะต้องเป็นจริง ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

และในครั้งนี้ที่ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ถูกเสนอเป็นครั้งแรกในเอเชีย ผู้บัญญัติกฎหมายและสมาชิกรัฐสภาจะต้องใช้เวลาหลังจากนี้เพื่อตัดสินและลงคะแนนว่าจะทำการอนุมัติหรือไม่

และนี่คือสาเหตุความกังวลที่ว่าทำไมฏีกาการสมรสระหว่างเพศเดียวกันดังกล่าวอาจจะยังไม่เพียงพอ

แม้ว่าดูเผินๆแล้วฏีกาดังกล่าวอาจเหมือนกับฝันที่สมาชิกชุมชน LGBTQ ในไต้หวันทุกคนต้องการ แต่นักเคลื่อนไหวและนักบัญญัติกฎหมายหลายๆคนยังมองว่าไม่เพียงพอ

ฏีกา 748 (ตั้งชื่อตามการตัดสินของศาลสูงสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017) มีเป้าหมายเพื่อทำตามการตัดสินของศาลสูงสุดและให้เกียรติการลงคะแนนเสียงของประชาชนเมื่อเดือนพฤษจิกายนที่ผ่านมา

แทนที่จะทำการปรับเปลี่ยนประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศ ซึ่งนอกจากระคงคำนิยามในการแต่งงานว่าเป็นการกระทำระหว่างเพศชายและเพศหญิง ร่างกฎหมายดังกล่าวจะอนุมัติการยอมรับ”การจดทะเบียนเป็นคู่กันตามกฎหมาย”ระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นการสร้างปัญหา”อีกปัญหาหนึ่ง”:

กฎหมายดังกล่าวจะอนุญาตให้บุคคลเพศเดียวกันสองคนสามารถจดทะเบียนเป็นคู่กันและมีสิทธิ์ในการบริหารชีวิตกันและกันรวมถึงได้รับการคุ้มครองที่เท่าเทียมกับการสมรส

แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่หลายๆคนต้องการ แต่นักเคลื่อนไหวในพื้นที่หลายๆคนมองว่าบทร่างดังกล่าวถือเป็นที่ยอมรับได้หากสิทธิที่ได้รับเท่าเทียมกับ”การสมรส”

อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนเป็นคู่ครองไม่ได้ให้สิทธิที่เท่าเทียมในการรับบุตรบุญธรรม โดยบุคคลที่เป็นเพศทางเลือกยังคงมีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น แต่คู่ครองเพศเดียวกันยังไม่สามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

Yu Mei-nu สมาชิกสภานิติบัญญัติพรรคก้าวหน้ากล่าว “ฏีกาดังกล่าวถือว่ายอมรับได้ แต่ว่ายังไม่สมบูรณ์แบบนัก” เธอยังกล่าวอีกว่า “และในขณะนี้ฏีกาดังกล่าวน่าจะเป็นวิธีที่มีโอกาสในการมอบสิทธิที่ใกล้เคียงกับการสมรสที่สุดให้กับคู่รักเพศเดียวกัน”

นายกรัฐมนตรีไต้หวัน Su Tseng-chang (ตำแหน่งรองจากประธานาธิบดี) ได้พูดถึงฏีกาดังกล่าว “การถกเถียงกันเป็นสิ่งที่เราได้คาดการณ์ไว้แล้ว แต่เราหวังว่าเพื่อนสมาชิกเพศทางเลือกจะสามารถรอคอยได้ การเดินหน้าในครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ทุกสิ่งที่ทุกคนคาดหวังไว้ แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ตอนนี้เราได้มองเห็นแสงสว่างเล็กๆที่อาจเจิดจ้าขึ้นได้ในวันข้างหน้า”

คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับฏีกาการสมรสระหว่างเพศเดียวกันครั้งแรกในเอเชียครั้งนี้ คุณตื่นเต้นเหมือนกันหรือไม่ที่จะได้เห็นความเท่าเทียมเกิดขึ้นในไต้หวัน

ภาพจาก Reuters/Tyrone Siu/File Photo

Quantcast