สมาคมจิตวิทยาชั้นนำกล่าว ‘ความเป็นชายแบบดั้งเดิม’ ส่งผลเสียต่อเพศชายทุกวัย
This post is also available in: English Français Português Русский Українська
“ความเป็นชาย“อาจไม่ใช่สิ่งที่สามารถนิยามได้อย่างชัดเจน แต่สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (APA) — หรือองค์กรแห่งนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา — กล่าวว่า “ความเป็นชายแบบดั้งเดิม”มีผลเสียต่อสุขภาพจิตของเพศชายทุกวัยและคุณภาพของสังคมโดยรวม
ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา APA ได้ทำการเผยแพร่เอกสารยาว 36 หน้าในหัวข้อ “คำแนะนำการปฏิบัติทางสุขภาพจิตกับผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่” ซึ่งผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงในนิตยสาร Monitor on Psychology ฉบับล่าสุด
คุณอาจคุ้นเคยกับ”ความเป็นชายแบบดั้งเดิม”ในคำที่มักเรียกกันทั่วไปว่า”ความเป็นชายที่เป็นพิษ” — หรือความคิดที่ว่าผู้ชายไม่ควรแสดงความรู้สึกของตัวเอง ไม่แสดงออกถึงความอ่อนแอ ไม่แสดงออกถึงความเป็นหญิง มีความกล้าท้าทาย รวมถึงพร้อมที่จะใช้กำลังหาก”จำเป็น”
ทางสมาคมพบว่า”ความเป็นชายแบบดั้งเดิม”นี้มีผลต่อพัฒนาการทางจิตในเพศชาย ซึ่งยังสามารถนำไปสู่”ผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายโดยรวม”ได้เช่นกัน
“ความเป็นชายแบบดั้งเดิม” (หรือ “ความเป็นชายที่เป็นพิษ”) มีความเชื่อมโยงกับความรุนแรงในเด็กและผู้ใหญ่ การเหยียดเพศหญิง รวมถึงความกลัวเพศทางเลือก ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นชายในลักษณะนี้”อาจทำให้เด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมขัดขวาง เช่นพฤติกรรมรังแกผู้อื่น การล้อเลียนเพศทางเลือก รวมถึงพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาหรือกิจกรรมที่มีประโยชน์อื่นๆ”
และแน่นอนว่าผลเสียเหล่านั้นย่อมส่งผลต่อสมาชิกในสังคมโดยรวม อย่างเช่นตัวเลขที่ชี้ว่าผู้ชายที่มีความเชื่อในเรื่องความเป็นชายแบบดั้งเดิมมีโอกาสที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่าปกติถึงสี่เท่า มีโอกาสที่จะถูกจับกุมในข้อหาใช้ความรุนแรงในครอบครัว และเพศชายยังเป็นผู้กระทำผิดคดีฆาตกรรมในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 90% อีกด้วย
ฉะนั้นเราพอแล้วได้ไหมกับคำว่า”ความเป็นชายแบบดั้งเดิม”ที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวันนี้!
เรามาวางแผนฟูมฟักเด็กๆให้โตเป็นผู้ชายที่มีความเคารพต่อคนทุกเพศทุกวัยอย่างเท่าเทียม และแน่นอนว่าชีวิตของทุกๆคนในโลกจะดีขึ้นอย่างแน่นอน!
คุณรู้สึกอย่างไรบ้างเกี่ยวกับข้อค้นพบในเรื่องความเป็นชายแบบดั้งเดิมที่เรานำมาเสนอในวันนี้
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2019 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม